ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ปราณี แสดคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชนกานต์ จันทะคุณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเป็ด จังหวัดขอนแก่น
  • เบญจพร ฐิติญาณวิโรจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธรณิศ สายวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สายใจ คำทะเนตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , พฤติกรรมสุขภาพ , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 156 คนในตำบลหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลากหมายเลขหมู่บ้านแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) เท่ากับ 0.89 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใชค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เทากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุ

ผลการวิจัย พบว่าความรอบรู้ทางสุขภาพทั้ง 5 ด้าน (ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ การตอบโต้ซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ การตัดสินใจด้านสุขภาพ การบอกต่อและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพ) อยู่ในระดับมาก โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับต่ำ และระดับต่ำมากกับพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.157, .219, .189, .236, และ .344 ตามลำดับ)

เมื่อวิเคราะห์อำนาจในการทำนายของความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพบว่ามีเพียงตัวแปรเดียวที่ร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพได้ คือความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการบอกต่อและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสุขภาพซึ่งสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมสุขภาพได้ ร้อยละ 11.80 (R2=.118) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการศึกษานี้สามารถช่วยชี้แนะในการพัฒนาแนวทางและแผนการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

References

Division of Health Education, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Strengthening and assessing health literacy and health behaviors school age group, working age group. Nonthaburi: Department of Health Service Support, Ministry of Public Health; 2016. (in Thai)

Division of Health Education, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Health literacy and health behavior. Nonthaburi: Department of Health Service Support, Ministry of Public Health; 2018. (in Thai)

WHO. Health promotion glossary. Division of health promotion, Education and communications, Health education and health promotion Unit, World Health Organization. Geneva; 1998.

Osborne RH, Batterham RW, Elsworth GR, Hawkins M, Buchbinder R. The grounded psychometric development and initial validation of the health literacy questionnaire (HLQ). BMC Public Health 2013;13:658.

Sornrak M. Empowering village health volunteers. Journal of Ubon Ratchathani University 2010;12(2):39-48. (in Thai)

Banped sub district health promoting hospital, Khon Kaen Province. Data of non-communicable diseases: NCDs. Khon Kaen: Banped sub district health promoting hospital; 2023. (in Thai)

Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Report of chronic kidney disease prevention in the Northeast of Thailand: CKDNET. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2023. (in Thai)

Division of Health Education, Department of health service support. Assessment of health literacy and health behaviors according to principle 3E2S, Working age group, Aged 15-59 Years;2017. (in Thai)

Lwanga SK, Lemeshow S. Sample size determination in health studies. A practical manual. Geneva: WHO; 1991.

Raethong A. Knowledge of health and health behavior 3A.2S. of village public health volunteers. A case study of Hin Tok subdistrict Ron Phibun district, Nakhon Si Thammarat province. Academic journal Department of Health Service Support 2019;15(3):62-70. (in Thai)

Division of Health Education, Department of health service support, Ministry of public health. Health literacy and health behaviors questionnaire among working-age people in villages to modify health behaviors. [Internet];2020 [cited 2022 Apr 17]. Available from: http://www.hed.go.th/linkHed/424 (in Thai)

Hair JF, Babin BJ, Anderson RE, Black WC. Multivariate data analysis 8th ed. England: Pearson Prentice;2019.

Field A. Discovering statistics using SPSS. London: Sage Publications Ltd; 2009.

Khuhamanee U, Rodjarkpai Y, Maharachpong N. Health literacy and role of village health volunteer in chronic disease prevention. Journal of the Department of Medical Services 2019;45(1):137-42. (in Thai)

Thepin T, Khunkaew S. Health literacy and health behaviors among village health volunteers, Faktha district, Uttaradit province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2023;14(1):206-18. (in Thai)

Chuprasert P, Chanmanee P. A situational study of health knowledge and health behavior of village public health volunteers (VHVs) in health area 11. [Internet]; 2019 [cited 2019 Apr 17]. Available from: http://do11.new.hss.moph.go.th:8080/show_ topic.php?id=12 (in Thai)

Buachum B. Knowledge of health and health behaviors of volunteers. Village public health (VHV) Tambon Pa Ngio, Wiang Pa Pao district Chiang Rai province. Journal of the Department of Health Service Support 2020;16(3):49-58. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

1.