ความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
การดูแล , ความต้องการ, ผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล , โภชนาการบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการ ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้กรอบ แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ จำนวน 214 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2563 ถึงเดือนตุลาคม 2565
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการคัดกรอง ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถภาพสมอง Abbreviated Mental Test และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ซึ่งรวมถึงข้อมูลภาวะสุขภาพ เช่น ดัชนีมวลกาย ความเสี่ยงด้านโภชนาการที่ประเมิน ด้วย Nutrition Alert Form และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 2.2) แบบประเมินความต้องการ และการได้รับการดูแลด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่ในโรงพยาบาล ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และแนวคิดของ European Society for Clinical Nutrition and Metabolism เครื่องมือวิจัยนี้ผ่านการตรวจสอบโดย ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.93 ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคในส่วนแบบสอบถามความต้องการการดูแลด้านโภชนาการและแบบสอบถามการได้รับการดูแล ด้านโภชนาการเป็น 0.88 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ ความแตกต่างของความต้องการฯ และการได้รับการดูแลฯ ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการด้านโภชนาการโดยรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.55±0.25) และการได้รับการดูแลด้านโภชนาการโดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96±0.19) ด้านที่ต้องการ การดูแลมากที่สุด คือ การประเมินก่อนการรับประทานอาหาร ขณะที่ด้านที่ได้รับการดูแลมากที่สุด คือ การให้ ความช่วยเหลือก่อน/ขณะ/หลังรับประทานอาหาร และด้านที่ได้รับการดูแลน้อยที่สุด คือ สิ่งแวดล้อมในการ รับประทานอาหาร เมื่อเปรียบเทียบความต้องการและการได้รับการดูแลด้านโภชนาการ พบว่าด้านที่มีความ ต้องการฯ ไม่แตกต่างจากการได้รับการดูแลฯ คือ เวลาในการรับประทานอาหาร (p=1.00) และการให้ความ ช่วยเหลือก่อน/ขณะ/หลังรับประทานอาหาร (p=0.08) ขณะที่ความต้องการฯ 7 ด้าน มากกว่าการได้รับการดูแลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ได้แก่ การประเมินก่อนการรับประทานอาหาร การดูแลอาการที่มีผลต่อการ รับประทานอาหาร รายการอาหารแต่ละมื้อ ลักษณะของอาหารที่จัด การจัดอุปกรณ์การรับประทานอาหาร สิ่งแวดล้อมในการรับประทานอาหาร และคำแนะนำ
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลฯ ในระดับมาก แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการฯ บุคลากรและสถานพยาบาล จึงควรเพิ่มระดับการดูแลฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการการดูแลด้านโภชนาการสำหรับ ผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับการรับประทานอาหารที่ดี
References
British Association for Parenteral and Enteral Nutrition (BAPEN). Survey of malnutrition and nutritional care in adults from BAPEN’s malnutrition action group. Retrieved 22 November 2022. Available from: https://kku. world/muaac
World Health Organization. Malnutrition; 2005. Retrieved 22 November 2022. Available from: https://www.who.int/quantifying_ehimpacts/ publications/MalnutritionEBD12.pdf
Sun H, Zhang L, Zhang P, Yu J, Kang W, Guo S, et al. A comprehensive nutritional survey of hospitalized patients: Results from nutrition Day 2016 in China. PLoS ONE 2018;13(3). Available from: https://doi.org/10.1371/ journal
Mitprasart U. Nutritional status and associated factors among older adults in the hospital. [Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2011. (in Thai)
Srisawat M, Putwatana P, Arpanantikul M. Nutritional status among hospitalized elders in a general hospital. Rama Nurs J 2012; 18(3):327-42. (in Thai)
Khanrugsa S. Risk factors for malnutrition status among hospitalized elders in Srinagarind hospital, Khon Kaen University. [Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2017. (in Thai)
Aroonsang P, Piyawattanapong S, Panpanit L, Srisaenpang P, Leethongin M, Kumniyom N, et al. Health profile of hospitalized older persons in Srinagarind hospital. Journal of Nursing Science & Health 2017;40(2):74-84. (in Thai)
Assantachai P. Common health problems in the elderly and their prevention. 4th ed. Bangkok: Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University;2013. (in Thai)
Chinuntuya P, Chutitorn AN. Factors predicting length of stay in older patients with gastrointestinal cancer undergoing surgery. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing 2016;27(1):30-42. (in Thai)
Thongvisat K, Aekwarangkoon S, Noonil N. Dietary behavior of chronic obstructive pulmonary disease patients with malnutrition. RTNNMDjournal 2020;47(3):595-610. (in Thai)
Thai Nursing Council. Nursing and midwifery profession act. Issue 2. Retrieved on November 15, 2019. Available from: https://www.tnmc. or.th (in Thai)
Orem DE. Nursing concept of practice. 6thed. Missouri: Mosby; 2011.
Department of Internal Medicine Nursing Srinagarind Hospital. Patient statistics for the year 2018. Faculty of Medicine Khon Kaen University; 2019. (in Thai)
Abbreviated Mental Test (AMT). Retrieved on November 15, 2019. Available from: https:// patient.info/doctor/abbreviated-mental-testamt [13/7/2562] (in Thai)
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Training facilitator’s guide on depressive patient service system for nurses/ public health academics/ public health officer. Retrieved on November 15, 2019. Available from: https://kku.world/kib2x (in Thai)
Chanaboon S. Statistics for basic research. Khon Kaen: Khon Kaen Provincial Public Health Office; 2018. (in Thai)
Srisitiprom S. Assessment of hospital food service at male orthopedic ward 1, Khon Kaen Hospital. [Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2012. (in Thai)
Komindrg S, Tangsermwong T, Janepanish P. Simplified malnutrition tool for Thai patients. Asia Pac J Clin Nutr 2013;22:516-21
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Elderly health screening and assessment guide. Bangkok: Veterans Organization Printing Welfare; 2021. (in Thai)
Laur C, McCullough J, Davidson B, Keller H. Becoming food aware in hospital: A narrative review to advance the culture of nutrition care in hospitals. Healthcare 2015;3(2):393-407.Available from: https://doi.org/10.3390/healthcare30203
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ