ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบของเด็กวัยเรียน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม

ผู้แต่ง

  • อรทัย นาวบุตร นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เกศินี สราญฤทธิชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, เด็กวัยเรียน, โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบของเด็กวัยเรียน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีฟันแท้ขึ้นครบ 28 ซี่ ในช่องปาก และไม่มีภาวะโรคเหงือกอักเสบ ที่ศึกษาโรงเรียนรัฐบาลในอำเภองสามหมอ จังหวัดอุดรธานีจeนวน 70 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมซึ่งประกอบด้วย 5 กิจกรรมระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการส่งเสริม ป้องกันและดูแลสุขภาพช่องปากตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขที่จัดให้กับนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินดัชนีคราบจุลินทรีย์ ตรวจคุณภาพของเครื่องมือโดยตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหา ผลการตรวจพบว่าทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และการตรวจสอบค่าความเที่ยงทั้งฉบับ ผลพบว่าแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นรวมเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และต่ำสุด การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบด้วยสถิติการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัย พบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ความคาดหวังในผลของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ และพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบด้านการบริโภคอาหาร ด้านการแปรงฟันและด้านการตรวจฟันด้วยตัวเอง สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ซึ่งผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบของเด็กวัยเรียน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถนำมาใช้ในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของเด็กวัยเรียนได้

References

Dental health, Department of health, Ministry of Public Health. 8th National oral health survey, Thailand 2017. Bangkok: Office of Printing Works, Veterans Affairs Organization; 2017. (in Thai)

Health education division, Department of health service support. Commandments of health. Bangkok: Office of Printing Works, Veterans Affairs Organization; 2017. (in Thai)

Udon Thani Provincial Public Health Office. Dental Public Health. Udon Thani: Udon Thani Provincial Public Health Office; 2021. (in Thai)

Dental health, Wangsammo hospital, Wangsammo district, Udon Thani Province. Report of the survey of dental health conditions school age group. Dental Public Health Udon Thani Wangsammo Hospital; 2021. (in Thai)

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84(2):191-215.

House JS. Work stress and social support. California: Addison Wesley Publishing; 1981.

Chomchome U, Pranprawit A, Kaewpan W. The effects of dental health education program on behavioral modification for gingivitis prevention among the six grade students in Phunphindistrict,SuratthaniProvince.The SCNJ 2017;4(1):234-52. (in Thai)

Tumkaew Y, Duangsong R. Effects of dental health education program for behavioral modification on gingivitis prevention among prathomsuksa VI primary school students, Wiangkao district, Khon Kaen Province. TDNJ 2018;29(1):36-48. (in Thai)

Pipatsart R, Kitreerawutiwong N. The effectiveness of an oral health care program on self-efficacy, dental Knowledge and dental caries preventive behaviors among secondary school students. J Prapokklao Hosp Clin Med EducatCenter2020;37(3):223-31.(inThai)

Junthorn R. Effecttives of dental health education program for changing dental health behavior of primary students in Maung municipality school in Namaung subdistrict, Maung district, Chachoengsao Province. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2016;33(4):340-53. (in Thai)

Watyota K, Wanaratwichit C. Effectiveness of an oral health promotion program on oral health behavior among 12 year-old students in Kosamphi Nakhon district, Kamphaeng Phet Province. CM Dent J 2019;40(1):81-96. (in Thai)

Pholkaew S, Promsakha T, Kinthaisong S, Nuangchalerm N, Chomngam P, Sroithong P, et al. The effect of dental health education program on gingivitis prevention behavioral among the ninth grade student. TJPHE 2021;1(1):61-76. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

1.