ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของเด็กวัยก่อนเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ
คำสำคัญ:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การส่งเสริมพัฒนาการและวินัยเชิงบวก, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เด็กวัยก่อนเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของเด็กวัยก่อนเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน อายุ 20-60 ปี ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 84 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 42 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 42 คน
เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของเด็กวัยก่อนเรียน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ดำเนินกิจกรรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมเข้าถึงข้อมูลด้วยใจ สร้างสายใยแห่งรัก กิจกรรมเข้าใจข้อมูล สู่การเพิ่มพูนวินัยเชิงบวกกิจกรรมประเมินใช้ข้อมูลที่มี เพื่อให้เด็กเก่ง ดี มีความสุข และกิจกรรมสร้างเด็กให้ภูมิใจ ด้วยการประยุกต์ใช้ข้อมูล 2) แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเสริมสร้างพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน และพฤติกรรมในการเสริมสร้างพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test และ Multiple linear regression
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้าน (p–value<0.001) 2) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านพฤติกรรมในการเสริมสร้างพัฒนาการและวินัยเชิงบวกของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value <0.001)
References
Ministry of Public Health. Developmental surveillance and promotion manual (DSPM). Bangkok: Office of the War Veterans Organization of Thailand; 2020. (in Thai)
Department of Mental Health. Thai early developmental assessment for intervention (TEDA4I). Bangkok: Office of the War Veterans Organization of Thailand; 2015. (in Thai)
Ministry of Public Health. Health data center child development, Special PP [Internet].2021 [Cited 2021 May 1]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php. (in Thai)
Rajanukul Institute Development, Department of Mental Health. Emotional quotient development for parent. Nonthaburi: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand; 2019. (in Thai)
Bhopiti K. Health literacy of caregivers and teachers about early childhood care in the 5th Health Region [Internet]. Ratchaburi: Regional Health Promotion Center 5 Ratchaburi;2020 [Cited 2021July 9]. Available from: https://apps.hpc.go.th/dmkm/item/375. (in Thai)
Rajanagarindra Institute of Child Development, Department of Mental Health. Preschool parenting program [Internet]. Bangkok: Triple Press; 2021 [Cited 2021 July 9]. Available from: https://www.dmh.go.th. (in Thai)
Yawinchan C, Khantamool W, Netthip R. Effectiveness of development emotion quotient and reinforce positive to improve discipline in early childhood program base on family participation in Pua district, Nan province. JOHSS 2019;6(1):70-85. (in Thai)
Sorensen K, Van den Broucke S, Fullam J, Doyle G, pelican J, Slonska Z, et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012;12(80):1-13.
Park KI, Oh S. Effects of active parenting today based on goal attainment theory on parenting stress, parenting behavior and parenting satisfaction in mothers of school-age children. J Korean Acad Nurse 2012;42(5):659-70.
Chirawatkul A. Statistics for health science research. Bangkok: Withayaphat;2009. (in Thai)
Sanivee H, Wangthong A, Wangthong A. Development process of enhancing health literacy in children’s development among parents in Nongjik district, Pattani province. J Health Sci TSU 2020;2(1):41-52. (in Thai)
Jundaboot W, Yoosook W, Semsum W. Development guideline for promotion of pre-schoolers in child development center, Sewichian municipal district, Numyuen district, Ubon Ratchathani Province. Journal of education : Faculty of Education : Srinakharinwirot University 2018;13(1):208-19. (in Thai)
Inson S, Aonkam Y, Ruangrith R. Effectiveness of development promotion and reinforce positive to improve discipline programs base on family participation to children aged 3-5 years in Mahasarakham province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office 2021;5(10):143-60. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ