ผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการโดยใช้สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันร่วมกับการแจ้งเตือนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • จตุพร กั้วศรี นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิลุบล รุจิรประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศุภจิรา สืบสีสุข โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ, สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน , พฤติกรรมการรับประทานอาหาร , น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ที่ไม่เหมาะสมเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการโดยใช้สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันร่วมกับการแจ้งเตือนต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 62 คนเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลขอนแก่น ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2564 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการโดยใช้สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันร่วมกับการแจ้งเตือน 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 4) เครื่องชั่งน้ำหนัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ  Independent t-test, Fisher Exact test, Mann-Whitney U และ Chi-square

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการที่เหมาะสมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มทดลองมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันการแพทย์อเมริกัน (Institute of Medicine) [IOM] มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการโดยใช้สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันร่วมกับการแจ้งเตือน ช่วยให้สตรีตั้งครรภ์มีพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการที่ดีขึ้นและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์ พยาบาลผดุงครรภ์ในแผนกฝากครรภ์ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีตั้งครรภ์โดยประยุกต์ใช้สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมภาวะโภชนาการในระยะตั้งครรภ์

References

Deputy NP, Sharma AJ, Kim SY, Hinkle SN. Prevalence and characteristics associated with gestational weight gain adequacy. Obstet gynecol 2015;125(4):773.

Siriarunrat S, Tatirat T, Deoisres W. Prevalence and factors affected to excessive gestational weight gain among pregnant women in the eastern part of Thailand. Journal of Public Health Nursing 2018;32(3):19-36. (in Thai)

Chaipongpun N, Punpuckdeekoon P. Adverse outcomes of pregnancy with abnormal weight gain at Phramongkutklao hospital. TJOG 2018;26(4):217-27. (in Thai)

Institute of Medicine. Weight gain during pregnancy: Reexamining the guidelines. Washington, DC: NationAcademyPress;2009.

Gondwe A, Ashorn P, Ashorn U, Dewey KG, Maleta K, Nkhoma M, et al. Pre-pregnancy body mass index (BMI) and maternal gestational weight gain are positively associated with birth outcomes in rural Malawi. PloS one 2018;13(10): e0206035.

Bureau of Nutrition. Guidelines for promoting health in nutrition in the antenatal clinic for public health personnel. Bangkok: Ministry of Public Health;2015. (in Thai)

Pongcharoen T, Jitngarmkusol S, Chaimongkol L,Taraporn K, Winichagoon P. Implementation of nutrition care and support policy in pregnant and lactating women: Rapid assessment of service providers and recipients. Journal of Nursing and Health Care 2015;33(1):166-74. (in Thai)

Deemongkol P, Limruangrong P, Phahuwatanakorn W, Boriboonhirunsarn D. Predictive factors of gestational weight gain in overweight and obese women. Nurs Sci J Thai 2020;38(2):46-58. (in Thai)

Sitkulanan P, Kumtip P. Impact of a self-management programme monitored through the application line on eating behaviour, arm-swing exercise behaviour, and blood glucose levels in women with gestational diabetes mellitus. TJNC 2020;35(2):52-69. (in Thai)

Coughlin SS, Whitehead M, Sheats JQ, Mastromonico J, Hardy D, Smith SA. Smartphone applications for promoting healthy diet and nutrition: A literature review. Jacobs Journal of Food and Nutrition 2015;2(3): 021.

Chan KL, Chen M. Effects of social media and mobile health apps on pregnancy care: Meta-analysis. JMIR Mhealth Uhealth 2019;7(1):e11836. doi: 10.2196/11836

Bandura, A. Social foundation of though and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall;1986.

Intarakamhang U. Health behavior change 3 self by PROMISE model. Bangkok: Sookkumwit press.;2009. (in Thai)

Jirawatkul A. Statistics for health science research. Bangkok: Witayaphat;2015. (in Thai)

Boonjeem W, Xuto P, Supavititpatana B. Effect of dietary promotion through self-monitoring program on gestational weight gain of pregnant women. Journal of Nursing and Health Care 2019;37(4):177-85. (in Thai)

Özkan Şat S, Yaman Sözbir Ş. Use of mobile applications by pregnant women and levels of pregnancy distress during the COVID-19 (Coronavirus)pandemic. Maternal Child Health J 2021;25(7):1057-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

1.