ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำ ส่วนปลายอักเสบ ในตึกศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ศรีภา โรงพยาบาลชุมแพ
  • จิราพร ทุยเวียง โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ, แนวปฏิบัติ, หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกัน การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในตึกศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลชุมแพ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ จำนวน 78 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 39 คน ที่ได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำแบบวิธีการปกติ และกลุ่มทดลอง 39 คน ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติ การทดสอบที และทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีระดับการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.7) มีความคิดเห็นว่าแนวปฏิบัติการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความเป็นไปได้ในการไปใช้ และมีความเหมาะสมต่อหน่วยงานในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และร้อยละ 58.3 มีความพึงพอใจต่อการนำไปใช้

References

Maleewong K. The effect of povidone-iodine ointment on intravenous procedural phlebitis. VNJ 2019;21(1):43-50. (in Thai)

Zheng GH, Yanq L, Chen HY, Chu JF, Mei L. Aloe Vera for prevent and treatment of infusion phlebitis. Cochrane Database Syst Rev 2014; 6.N.PAG-N.PAG. (1p).Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24895299.

Cuellar LE, Fernandez-Maldonado E, Rosenthal VD, Castaneda-Sabogal A, Rosales R, Mayorga-Espichan MJ, et al. Device-associated infection rates and mortality in intensive care units of Peruvian hospitals: Findings of the international nosocomial infection control consortium. Rev PanamSalud Publica 2008;24:16-24.

The Joanna Briggs Institute. Supporting document for the Joanna Briggs Institute levels of evidence and grades of recommendation [Internet]. 2014 [cited 2015 Mar 25]. Available from: http://joannabriggs.org/jbi approach.

Wiechul R, Hodgkinson B. Promoting best practice in the management of peripheral intravascular devices. Adelaide: The Joanna Briggs Institute; 2002.

Prompriang P. Effects of evidence-based practice promotion for infection prevention on knowledge and practices smong nurses and incidence of peripheral intravenous infection in a community hospital [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University.; 2008. (in Thai)

Chumphae Hospital. Registration of patient information in female surgeryof Chumphaehospital; 2019. Monthly report. Khonkean: Chumphae Hospital.; 2019. (in Thai)

Infusion Nurses Society. Infusion therapy standards of practice (electronic version). Journal of infusion Nursing 2016;39(1S):1-159.

Khai Sena Narong Hospital. Clinical nursing practice guidelines of phlebitis in patients receiving peripheral in travenous. N.P.: n.p.2017. (in Thai)

Chirawatkul A. Statistics for health science research. Bangkok; S. Asia Press;. 2015. (in Thai)

Udomasadaporn K, Phromrin M. Effectiveness of using the practice guideline for phlebitis and infiltration prevention from vasopressor

agents in cardiac care unit, Chiangrai Prachanukroh hospital. Lanna Public Health Journal 2018;14(1):35-45. (in Thai)

Hongjareon J. The vein inflammation and factors related in patients gastrointestinal surgery receiving fluids through the peripheral veins. Bulletin of nosocomial infection control group of Thailand 2008;18(1):26-32.

Plumer AL. Principles and practice of intravenous therapy. 3rd ed. Boston: Little, Brown and company;.1982.

Maneenun L. Intravenous fluid administration. In: Vasinamorn S, editor. Basic nursing: Concepts and practices. 6th. Bangkok: Joottongkarnpim; 1992: p.411-27. (in Thai)

Khangrang M, Punviang A. Peripheral vein inflammation disease from intravenous solution in critical patient. JRIHS 2018;2(1):22-36. (in Thai)

Picheansathian W, Dumrongkullachart D, Wongsaen R, Kaveevon T, Koonna A, Netsawang P. Promoting evidence-based practices among nurses in the management of peripheral intravascular devices. Nursing Journal 2014;41 suppl:71-87. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

1.