ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอก โดยการส่องกล้อง
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง , การฟื้นสภาพ , ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้องบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้อง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยที่เข้ามารับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้อง จำนวนทั้งหมด 52 ราย ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 26 ราย และกลุ่มทดลอง 26 ราย โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังของกลุ่มควบคุม และศึกษาข้อมูลไปข้างหน้าของกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอก ซึ่งประกอบด้วย แผนการสอนรายบุคคลเรื่องการจัดการตนเองในการฟื้นสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้อง คู่มือการจัดการตนเอง และ แบบบันทึกการติดตามตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบบันทึกการฟื้นสภาพหลังได้รับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้อง ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2559 ถึง สิงหาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ chi-square test และสถิติ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนความปวดในวันแรกหลังผ่าตัด (p=.01) คะแนนความปวดในวันที่ได้รับการถอดท่อระบายทรวงอก (p=.02) และค่าปริมาตรของการสูดหายใจเข้าโดยใช้อุปกรณ์บริหารการหายใจ ในวันที่ถอดท่อระบายทรวงอกทุกท่อ (p=<.001) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะแทรกซ้อนทางปอดหลังผ่าตัดไม่เกิดขึ้นทั้งสองกลุ่ม
ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองในการฟื้นสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้อง สามารถลดความปวดหลังผ่าตัด และเพิ่มปริมาตรของลมหายใจเข้าจากการใช้อุปกรณ์บริหารการหายใจ จึงสามารถนำไปใช้ในการฟื้นสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอกโดยการส่องกล้อง
References
National Cancer Institute of Thailand. Cancer in Thailand 2013-2015. Bangkok: Cancer Registry Unit; 2018.
Patients care team of General Thoracic Surgery Unit, Faculty of Medicine, Chiang Mai University. Statistics of lung surgery patients and guidelines of care. Chiang Mai; 2015. (in Thai)
The Society of Thoracic Surgeons of Thailand. Video-assisted thoracic surgery, VATS in enhanced recovery after surgery 2020 in Recommendations for the development of the service system Minimal Invasive Surgery 2020. 1st ed. Nonthaburi, The Printing Office to assist veterans organization;2020. (in Thai)
Yang J, Xia Y, Yang Y, Ni ZZ, He WX, Wang HF, et al. Risk factors for major adverse events of video-assisted thoracic surgery lobectomy for lung cancer. Int J Med Sci 2014 11;11(9):863-9. doi: 10.7150/ijms.8912. PMID: 25013365; PMCID: PMC4081307.
Shintani Y, Funaki S, Ose N, Kanou T, Kanzaki R, Minami M, et al. Chest tube management in patients undergoing lobectomy. J Thorac Dis 2018;1012:6432-5. doi:10.21037 /jtd.2018.11.47.
Kanfer FH. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors, Helping people change: A textbook of methods. 2nd ed. New York: Pergamon Press;1980, p.334–89.
White J, Dixon S. Nurse led patient education program for patients undergoing a lung resection for primary lung cancer. J Thorac Dis 2015;7 suppl 2: S131-7. doi:10.3978/ j.issn.2072-1439.2015.03.11. PMID: 25984358; PMCID: PMC4419031.
Rao V, Todd TR, Kuus A, Buth KJ, Pearson FG. Exercise oximetry versus spirometry in the assessment of risk prior to lung resection. Ann Thorac Surg. 1995;60(3):603-8; discussion 609. doi:10.1016/0003-4975(95)00481-Y. PMID: 7677487.
Khomchan P. Effects of self-care promotion program on recovery of post-thoracotomy patients [dissertation]. Songkla: Prince of Songkla Univ.; 2005. (in Thai)
Reeve JC, Nicol K, Stiller K, McPherson KM, Denehy L. Does physiotherapy reduce the incidence of postoperative complications in patients following pulmonary resection via thoracotomy? a protocol for a randomised controlled trial. J Cardiothorac Surg 2008; 18(3):48. doi: 10.1186/1749-8090-3-48. PMID: 18634549; PMCID: PMC2500000.
Reeve J, Stiller K, Nicol K, McPherson KM, Birch P, Gordon IR, et al. A postoperative shoulder exercise program improves function and decreases pain following open thoracotomy: A randomised trial. J Physiother 2010;56(4):245-52. doi: 10.1016/s1836-9553(10)70007-2. PMID: 21091414.
Leelarungrayab D. Clinical chest physiotherapy. 3rd ed. Bangkok: Thammasat Book Centre; 2014. (in Thai)
Yeung WW. Post-operative care to promote recovery for thoracic surgical patients: A nursing perspective. J Thorac Dis 2016;8 Suppl 1):S71-7. doi: 10.3978/j.issn.2072-1439.2015.10.68. PMID: 26941973; PMCID: PMC4756229.
Dinic VD, Stojanovic MD, Markovic D, Cvetanovic V, Vukovic AZ, Jankovic RJ. Enhanced recovery in thoracic surgery: A review. Front Med (Lausanne) 2018;5(5):14. doi: 10.3389/fmed.2018.00014. PMID: 29459895; PMCID: PMC5807389.
Mc Cafery M PC. The pain rating scale adapted from McCafery MPC. Pain. In clinical manual: Mosby;1999. p. 67.
Rattanakanlaya K. Coaching on breathing exercise by applying incentive spirometer in post-operative patients. J Royal Thai Army Nurses [Internet] 2018 Aug;30(19):1-9. (in Thai)
Ueda K, Kaneda Y, Sudou M, Jinbo M, Li TS, Suga K, et al. Prediction of hypoxemia after lung resection surgery. Interact Cardiovasc Thorac Surg 2005;4(2):85-9. doi: 10.1510/icvts.2004.103861. Epub 2005 Feb 7. PMID: 17670363.
IBM SPSS Statistics for Windows, Version 22.0. Armonk, NY: IBM Corp; 2013.
Prieto R, Ferrell B, Kim JY, Sun V. Self-management coaching: Promoting postoperative recovery and caregiving preparedness for patients with lung cancer and their family caregivers. Clin J Oncol Nurs 2021;25(3):290-6. doi: 10.1188/21.CJON.290-296. PMID: 34019030; PMCID: PMC8258964.
Kotta PA, Ali JM. Incentive spirometry for prevention of postoperative pulmonary complications after thoracic surgery. Respir Care 2021;66(2):327-33. doi:10.4187/respcare. 07972. Epub 2020 Aug 25. PMID: 32843511.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ