รูปแบบการจัดการความรู้ด้านการดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนนักปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • เพชรีย์ กุณาละสิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ชุมชนนักปฏิบัติ , ผู้สูงอายุ, การจัดการความรู้ , การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

         การวิจัยแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการความรู้ด้านการดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกจำนวน 90 คน ดำเนินการคัดเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาการเก็บข้อมูลวิจัย 6 เดือน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบบันทึกคลังความรู้ และ 3) แบบวัดความตระหนักรู้ และ 4)แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ค่าดัชนีความตรงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.87, 1.00, 0.85 และ 0.94 ตามลำดับ

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติทดสอบค่าทีคู่ (paired sample t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และสรุปความแบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า ผลการจัดการความรู้ได้ชุมชนนักปฏิบัติ 6 กลุ่ม และได้แนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ จำนวน 6 แนวปฏิบัติ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติที่ดีด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และด้านอบายมุข สำหรับความตระหนักรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความตระหนักรู้ในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.050) โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ   

         ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำกระบวนการจัดการความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุให้เกิดสุขภาพดี และกระบวนการจัดการความรู้สามารถสร้างแนวปฏิบัติที่ดีให้เกิดขึ้นในชุมชนจากชุมชน

References

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Thai elderly. Bangkok: Institute for Population and Social Research Mahidol University;2015. (in Thai)

Research Institute Foundation and development of the Thai elderly. Situation of the Thai Elderly 2019. Nakhon Pathom: Printthory;2020. (in Thai)

Thepsiri P. Quality of life of the elderly in Banna District, Nakhonnayok Province [dissertation]. Bangkok: Krirk University;2012. (in Thai)

Bureau of Elderly health. Annual report 2020. Bangkok: Ministry of Public Health;2021. (in Thai)

Office of International Health Policy Development, Ministry of Public Health. Situation of the Thai elderly health problems. Bangkok: Institute for Population and Social Research Mahidol University; 2016. (in Thai)

Research Institute Foundation and development of the Thai elderly. Situation of the Thai Elderly 2019. Nakhon Pathom: Printthory; 2020. (in Thai)

Health Promotion Office Bureau. Health promotion for the elderly. Bangkok: Ministry of Public Health; 2020. (in Thai)

Numprasertchai S. Knowledge management. Bangkok: SE-ED Public Company;2015. (in Thai)

Jomthong Subdistrict Administrative Organization. Annual performance report 2020. Jomthong Subdistrict Administrative Organization;2021. (in Thai)

Srisaad B. Preliminary research. 10th ed. Bangkok: Suwiriyasan;2017. (in Thai)

Orem D. Nursing concepts of practice. 6th ed. St. Louis: Mosby: Missouri: Mosby-Year Book;2001.

Richard J, Lee J. Cronbach 1916-2001. Washington, D.C: National academy of sciences; 2009.

Probst GR. Managing knowledge: Building blocks for success. Chichester: John Wiley & Sons;2000.

Cheawjindakarn B. Qualitative case study research techniques. Liberal Art Review; 2018; 13(25):103-18. (in Thai)

Faculty of Medicine Siriraj Hospital. KM Definition. Bangkok: Mahidol University;2020. (in Thai)

Morr EC, Subercaze J. Knowledge management in health care;2009.

Moffett S, McAdam R. Knowledge management: A factor analysis of sector effects. Journal of Knowledge Management 2009;13(3):44-59.

Magnier-Watanabe R, Senoo D. Shaping knowledge management: Organization and national culture. Journal of Knowledge Management 2010;14(2):214-27.

Pichayapinyo P. The theory of self-care deficit of Orem’s nursing. In: Pichayapinyo P, Lapvongwattana P, Kerdmongkol A. Nursing theory and application: Person, family, and community. Bangkok: Danex Intercorporation;2013. (in Thai)

Thongcharoen W, Ronnaritthiwichai C, Petchphansri S, Boonchan N, Wanich-Charoenchai W. Process effectiveness knowledge management and knowledge management high blood pressure of the elderly. J Nurs Sci 2011;29:103-12. (in Thai)

Numuang R. Knowledge management in operations community leader's health building club, Na Cha-ang subdistrict Muang district, Chumphon province [dissertation]. Surat Thani Rajabhat University;2009. (in Thai)

Bootwicha C. Factors associated with exercise behaviors of elderly in the health and environment promotionclub, Sai Mai District, Bangkok Metropolitan [dissertation]. Krirk University University;2018. (in Thai)

Khemapech S. Exercise for health in older adult. JOPN 2016;8(2):201-11. (in Thai)

Kamnak R, Punlertpanit S. The participation in health promotion for the elderly, Hua Fai temple, San Klang subdistrict, Pan District, Chiang Rai province. Academic conference “Nakhon Sawan Rajabhat 1st research” 11 August 2021;975. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29

How to Cite

1.