การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการตนเองและการดูแลอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: จากสถานบริการสุขภาพระดับตติยภูมิสู่เครือข่ายปฐมภูมิและชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา บุรวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรสา กงตาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรุณณี ใจเที่ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, การจัดการดูแลตนเองที่บ้าน, การดูแลต่อเนื่อง, เครียร์โมเด

บทคัดย่อ

        การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้านของผู้ป่วย และการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการจำหน่ายกลับบ้านจากสถานบริการระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งสู่บ้าน ชุมชนและสถานบริการระดับปฐมภูมิในเครือข่ายศึกษาจากอาสาสมัคร 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้ดูแล อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 48 คน เก็บข้อมูลระหว่างกรกฎาคม 2562-พฤศจิกายน 2563 โดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการตนเอง 6 ขั้นตอนของ เครียร์ (Creer)

ผลการวิจัยพบประเด็น ดังนี้ (1) ผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความพึงพอใจสูงต่อการดูแลระยะหลังผ่าตัดของสถานบริการตติยภูมิ แต่ต้องการให้เพิ่มการเตรียมพร้อมความรู้และทักษะสำคัญในการดูแลจัดการตนเองที่บ้านและการส่งต่อบริการดูแลต่อเนื่องและการเยี่ยมสนับสนุนที่บ้านจากทีมผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิในพื้นที่ (2) อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนและผู้ให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ระบุถึงข้อจำกัดในการส่งต่อข้อมูลและรายละเอียดของผู้รับบริการ จากหน่วยบริการตติยภูมิสู่ระดับปฐมภูมิ และเสนอแนะให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร เพื่อให้เกิดความมั่นใจที่จะให้การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมความต้องการและมีข้อเสนอแนะให้จัดทำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดโดยใช้กรอบแนวคิดของเครียร์เพื่อปรับปรุงระบบบริการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน และสร้างแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้ครอบคลุมการจัดการตนเองของผู้ป่วย การพัฒนาระบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยหลังผ่าตัดจากสถานบริการระดับตติยภูมิสู่ระดับปฐมภูมิและชุมชน สำหรับพยาบาลและสหสาขาวิชาชีพให้สามารถดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมมากขึ้น

References

World Health Organization. Country cooperation strategy: Thai government and World Health Organization 2018-2021. 1st ed. Nonthaburi, Thailand: Permanent Secretary Building 3 Ministry of Public Health; 2017.

Strategy and plans group; Division of non-communicable disease: Annual report 2015. Bangkok: The Printing Office Agency to assist veterans in Royal Shu patham; 2016.

Queen Sirikit Heart Center of the Northeast. Medical records and statistics 2018. [Internet]. Khonkaen [cited 2019]. Available from: http://10.67.67.169/default.aspx.

Creer TL, Holroyd KA. Self-management of chronic conditions: The legacy of Sir William Osler. Chronic illness: 2006; 2: 7-14.

Wattana C. Self-management support: Strategies for promoting disease control. JPNC 2015; 26:117-27.

Alsén P, Brink E, Persson LO. Patients’ illness perception four months after a myocardial infarction. JCN 2008; 17: 25-33.

Taebi M, Abedi HA, Abbasszadeh A, Kazemi M. Incentives for self-management after coronary artery bypass graft surgery. IJNMR 2014; 7:S67-70.

Pouralizadeh M, Khankeh H, Ebadi A, Dalvandi A. Factors influencing nursing students’ clinical judgment: A qualitative directed content analysis in an Iranian context. J. Clin.Diagnostic Res 2017; 11: JC01-4.

Rungreangkulkij S, Kittiwatanapaisan W,Kotnara I, Keawjanta N. Health information seeking behavior of Thai: A case study in Khon Kaen province. Journal of Nursing Science and Health 2017; 40: 1-13.

Munted N, Hongchayangkool K. A model of health information referral system for cerebrovascular accident patient: A case study of Khaochaison hospital. AL-NUR 2018; 13: 43-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29

How to Cite

1.