ประสิทธิผลของนวัตกรรมหมอนลูกบอลยางเพื่อสุขภาพป้องกันแผลกดทับ : การศึกษานำร่อง
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล , นวัตกรรมหมอนลูกบอลยางเพื่อสุขภาพ , แผลกดทับ , การศึกษานำร่องบทคัดย่อ
ปัญหาแผลกดทับในผู้สูงอายุติดเตียง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งผลต่อสุขภาวะของผู้ป่วยมากมาย นวัตกรรมหมอนลูกบอลยางเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยลดการเกิดปัญหานี้ได้ การศึกษาครั้งนี้นำแนวคิดทฤษฎีของโอเร็มเกี่ยวกับมโนทัศน์ ด้านความพร่องในการดูแลตนเอง (self-care deficit) ร่วมกับการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล 13 ขั้นตอน ของวีณา จีระแพทย์ มาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรม วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการทดสอบนวัตกรรมหมอน ลูกบอลยางเพื่อสุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการทดสอบนวัตกรรม วิธีการ: การวิจัย เชิงปริมาณ (quantitative research) ครั้งนี้ เป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับประดิษฐ์จากหมอนลูกบอลยางพาราเย็บเป็นรูปตัวแอลที่ใช้วางบริเวณหลัง ก้นกบ และระหว่างปุ่มกระดูกข้อเข่า วิธีการเก็บข้อมูล 1) ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับก่อนใช้นวัตกรรม 2) ประเมินความก้าวหน้าการเกิดแผลกดทับประเมินก่อน-หลังใช้นวัตกรรมทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน และ3) สำรวจความพึงพอใจหลังใช้นวัตกรรมครบ 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินความก้าวหน้าการเกิดแผลกดทับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของการใช้นวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงที่ตึกศัลยกรรมชาย จำนวน 5 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับ ความก้าวหน้าการเกิดแผลกดทับและความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงเพศชาย จำนวน 5 ราย มีอายุเฉลี่ย 73 ปี จากการประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับก่อนใช้นวัตกรรม พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับเสี่ยงสูง ( = 10.8, S.D.=0.84) ในขณะที่การประเมินความก้าวหน้าการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยทั้ง 5 ราย พบว่าไม่มีแผลกดทับเพิ่มมากขึ้นจากเดิม กล่าวคือ กลุ่มที่มีแผลกดทับเดิมอยู่แล้วจำนวน 3 ราย ไม่เกิดแผลกดทับเพิ่ม และกลุ่มที่ไม่มีแผลกดทับมาก่อนจำนวน 2 ราย ไม่เกิดแผลกดทับนอกจากนี้ ความพึงพอใจโดยรวมของผู้ดูแลในการใช้นวัตกรรมโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง (= 3.38, S.D.=0.15) สรุป: นวัตกรรมหมอนลูกบอลยางเพื่อสุขภาพสามารถป้องกัน และลดการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการใช้งานนวัตกรรมหมอนลูกบอลยางเพื่อสุขภาพควบคู่กับแนวทางการป้องกันการเกิดแผลกดทับแบบเดิม ได้แก่ การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลสูงสุด
References
Manzano F, Navarro MJ, Roldán D, Moral MA, Leyva I, Guerrero C, et al. Pressure ulcer incidence and risk factors in ventilated intensive care patients. J Critical Care 2010; 25(3): 469–76.
Reddy M, Gill SS, Rochon PA. Preventing pressure ulcers: A systematic review. The Journal of the American Medical Association 2006; 296(8): 974-84.
Khamnuan P, Chuayunan N, Deaupakarakul S. Efficacy of clinical practice guidelines for prevention pressure injury in risk patients. Hua Hin Medical Journal 2018; 3(2):89-101. (in Thai)
Sareeso P, Praison P, Effcacy of a visco-elastic foam mattress and alternating-pressure air mattress in preventing pressure ulcers: A preliminary study. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2016; 31(3): 83-96. (in Thai)
Purimayata P, Vibulchai N, Wongsahi T, Waramit W. A research and development of a set of dialysis bag-mattress innovation for pressure sore prevention in patients with fracture femur receiving leg traction. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2017; 26(3): 104-17. (in Thai)
Therdyothin K, Glomgleang C, Jaickoomkao K, Bureerat S, Therdyotin T, Loeskhampon P. Efficacy of water mattress for the treatment and prevention of the pressure ulcers. Journal of Health Science 2018; 27(1): 128-36. (in Thai)
Maneerat K, Pidsayasang K, Praphasanobol N, Piwleuang N. Alpha pichit bed sore innovation. Udon Thani: Boromrajonani College of Nursing Udonthani; 2017. (in Thai)
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice 6th ed. St. Louis: Mosby; 2001.
Jiraphaet V. The role of professional nurse and research for innovative nursing development. Bangkok: Faculty of Nursing Chulalongkorn University; 2009. (in Thai)
Wongsri P, Chintapanyakun T. Utilization of Orem’s theory with caring and advice for patients with Heart Failure. Journal of The Police Nurses 2018; 10(1):209-19. (in Thai)
Pumraya P. Scales for assessment of pressure ulcer healing. Thai Journal of Nursing Council 2009; 24(3):20-30. (in Thai)
Joprakhon S, Bunpean A, Chantarapon P. Innovative development of the neck pillow to relieve pain in the neck, shoulder and shoulder muscles for service visitors. Prakhon Chai Hospital Prakhon Chai District Buriram Province Journal of Public Health 2021; 30(1): 71-81. (in Thai)
Pattarakantaku P. Effects of the tire-bed innovation usage to prevent pressure sore occurrence in at-risk patient. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2013; 22(1): 48-60. (in Thai)
NSTDA. Innovation “Healthy water mattress” made from para rubber durable - highly flexible, creating a smile for Pressure ulcer patients recover faster [Internet].2019. [cited 2021 Aug 22].Available from: https://www.nstda.or.th/home/newspost/2019 0719-mtec/. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ