การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กล้าเผชิญ โชคบำรุง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปาริชาติ วงศ์ก้อม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://orcid.org/0000-0002-6847-6043
  • จินตนา สุวิทวัส คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรับรู้, สมรรถนะ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลมีความสำคัญต่อการนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลของนักศึกษาและปัจจัยที่สนับสนุน/ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาลของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 หลังสิ้นสุดการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลรายด้าน แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลโดยรวม และแบบสอบถามปัจจัยที่ทำให้นักศึกษามีสมรรถนะทางการพยาบาล ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีการรับรู้สมรรถนะทางการพยาบาลด้านการประเมินภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ด้านทักษะการบำบัดทางการพยาบาลอยู่ในระดับดีมาก และด้านการใช้กระบวนการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลางถึงดี นักศึกษาส่วนใหญ่มีการรับรู้สมรรถนะทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ปัจจัยหลัก 3 ประการที่สนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษามีการพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล ได้แก่ ระบบสนับสนุน ตัวนักศึกษา และสื่อการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะในการวิจัยสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน และกำหนดแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล

References

American Association of Colleges of Nursing. The essentials of master’s education in nursing; 2011 [cited 2020 22 September]. Available from: https://www.aacnnursing. org/portals/42/publications/mastersessentials11.pdf.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Core competency of gruduate of bachelor degree, master degree, doctoral degree in nursing, short course training program in advanced practice nurse and midwifery and certificate in speacialty in nursing Thailand Nursing and Midwifery Council: Thailand Nursing and Midwifery Council; 2018 [cited 2020 21 September]. Available from:https://www.tnmc.or.th/images/ userfiles/files/004.pdf. (in Thai)

Faculty of Nursing, Khon Kaen University. Bachelor of Nursing Science Program (Revision 2017) Faculty of Nursing, Khon Kaen University; 2017 [cited 2020 21 September]. Available from: https://nu.kku.ac.th/thai/index.php/2017-06-21-10-34-01/ 2017-10-05-14-52-36 (in Thai)

Bandura A. The explanatory and predictive scope of self-efficacy theory. J Soc Clin Psychol 1986;4(3):359-73.

Chaiboonruan T, Yimyam S. International nursing programme students’ pregnancy care efficacy. JTNMC 2013;28(3):55-67. (in Thai)

Sanchan M, Chumnanborirak P, Khawnphon S. Conditions of nursing practice of the primary medical care Practicum: case study in community hospitals. JBCNM 2014;20(2):70-81. (in Thai)

Thunnukul S, Promla V. The perception of nurses in the overall performance of nursing students private university in Pathumthani Province. SSRU Graduate Studies Journal 2011;2(2):439-45. (in Thai)

Mattavangkul C, Prasomsuk S. Relationships between personal factors, satisfaction, perception of self-efficacy, learning achievement, and competency in community health practiceof nursing students, Siam University. J Nurs Educ 2010;3(1):41-54. (in Thai)

Bandura A. Social foundations of thought and action. Englewood Cliffs, NJ;1986.

Poorananon P, Krirkgulthorn T. Factors predicting nursing student’s competency in evidence-based nursing. Nurs Sci J of Thailand 2011;29(2):47-55. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite

1.