การศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ

ผู้แต่ง

  • ณิชารัศม์ ปัญจโพธิวัฒน สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อุษาวดี ไพรราม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ณพสิษฐ์ จักรพาณิชย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ปฐมพงศ์ มโนหาญ สนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ, แรงงานต่างด้าว, การเข้าถึงบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยมุ่งหวังการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่พื้นที่ชายแดนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานภาคการผลิตทั้งในและนอกระบบเพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนย้ายจำนวนมากของแรงงานเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดนในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการสาธารณสุข โดยเฉพาะการสาธารณสุขมีเป็นประเด็นด้านมนุษยธรรมรวมอยู่ด้วย เช่น การถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ด้อยค่าทางสังคม จึงนำไปสู่การถูกเอารัดเอาเปรียบ ทำให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นกลุ่มเปราะบาง ขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เมื่อถึงเวลาเจ็บป่วยจึงไม่กล้าเข้าไปรักษาในสถานพยาบาลเนื่องจากข้อจำกัดด้านภาษา วัฒนธรรม รายได้ รวมถึงไม่เข้าใจระบบสิทธิการรักษาพยาบาล ดังนั้นการศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ปัญหา และอุปสรรค ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ การรับรู้สิทธิ และการได้รับการบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าว และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการเข้ารับบริการสุขภาพ การศึกษาวิจัยเชิงผสมผสานนี้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อปัญหาและอุปสรรคในการเข้ารับบริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (X2=22.898, P-value≤0.001) ระดับการศึกษา (X2= 5.146, P-value≤ 0.001) สถานภาพสมรส (X2= 31.676, P-value≤ 0.001) รายจ่าย (X2= 10.308, P-value= 0.036) และทักษะในการใช้ภาษาไทย (X2=106.293, P-value= 0.036) โดยสรุปปัจจัยสำคัญของปัญหาอุปสรรคในการเข้ารับบริการสุขภาพและการรับรู้สิทธิของแรงงานต่างด้าว คือ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายจ่ายและทักษะในการใช้ภาษาไทยของแรงงานต่างด้าว

References

Chatchawanchanchanakij P, Arphonpisan P. Attitudes influencing an access to health services of myanmar transnational workers: A case study of Thai seafood processing industry in Samutsakhon Province. Pannarat. Journal, Thaksin University 2017; 30(3): 57-63. (in Thai)

Ganjanapan A, Samnieng C. Migrant workers, identity and citizenship rights. Bangkok: public policy development office; 2014.

Srithongba P. Life quality of illegal Myanmar laborers in Samutsakhon Province. Kasem Bundit Journal 2019;20:11-24. (in Thail)

Seeharaj P. The study of migrant worker’s life in Sieng-kong Bangna, Samuthprakarn province. Veridian E-journa, Silpakorn University 2017:10(2):2218-34. (in Thail)

A study of the medical policy and law for immigrant workers: A case study of Chiang Sean and Chiang Kong areas in Chiang Rai province. Mae Fah Luang, Chiang Rai province: s.n.;2015.

Strategy and planning division. The pcost of health. Bangkok: Ministry of public health; 2015.

Robert KV, Daryle MW. Determining sample size for research. 607-610, Duluth: Educational and psychological measurement 1970; 30: 607-10. doi.org/10.1177/00 1316447003000308

Kamwan A, Kessomboon P. Health services accessibility for migrant workers in Chiang Khan district, Loei province. Loei Province: Community Health Development Quarterly 2016;3:359-74 . (in Thai)

Mitthong W. Access to health care services for Myanmar migrant workers at Samutsakhon hospital. Samutsakhon province: Faculty of Public Health; 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31