ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตนต่อสมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคไตกลุ่มอาการเนโฟรติก

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ชาญกัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ชลิดา ธนัฐธีรกุล

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคไตกลุ่มอาการเนโฟรติก

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตนต่อสมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคไตกลุ่มอาการเนโฟรติก ณ กลุ่มงานผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 40 คน กลุ่มควบคุม 20 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 20 คน ได้รับโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ใช้วิธีแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า               1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะแห่งตนและค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง      สูงกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถนะแห่งตนและค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

References

1. Bandura, A. Self- Efficacy: The Exercise of Control. New York : W.H. Freeman. (1997 ).
2. Sunsalah N, and Ua-Kit N., journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2016; 28(1): 103-112 (in Thai)
3. Waeyusoh N, Thitasomakul S and Pithpornchaiyakul W. Effectiveness of self-efficacy in oral health care based on Muslim’s faith among junior high school students, Narathiwat province J Pub Health Dev.2014;12(1): 55-76. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25

How to Cite

1.