ผลของรูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานต่อทักษะการเรียนรู้ด้านการใช้งานวิจัย

ผู้แต่ง

  • ampornpan theeranut

คำสำคัญ:

การสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน, รูปแบบการสอน, วิจัยในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การจัดการสอนโดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน (Research-based teaching) เป็นกลยุทธ์การสอนแบบหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของผู้เรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาและติดตามผลลัพธ์ของการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานต่อทักษะการเรียนรู้ด้านการใช้งานวิจัย ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ จำนวน 19 คน    รูปแบบการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานประกอบด้วย 4 modules ดังนี้ 1) การศึกษาเบื้องต้น 2) การประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) การทดสอบผล และ 4) การบันทึก วิเคราะห์ และสะท้อนผลเชิงกระบวนการและผลลัพธ์   เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้  ประกอบด้วย  แบบประเมินทักษะการใช้งานวิจัยเป็นฐานในการเรียนรู้ ฉบับภาษาไทยที่แปลมาจากเครื่องมือมาตรฐานของThe University of Queensland มีข้อคำถาม 24 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการใช้งานวิจัยเป็นฐานในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจาก 2.52±0.33 เป็น 3.09±0.18 หลังการจัดการเรียนการสอนแบบ RBL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยผลลัพธ์การเรียนรู้รายข้อที่เพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การมีทักษะการใช้เครื่องมือประเมิน   การเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติ และการเข้าใจทฤษฎีและแนวคิดในเชิงลึก

References

1. Brown S, Smith B. (Eds.). Research, Teaching and Learning in Higher Education. Routledge: Taylor & Francis Group; 2013.
2. Greenstein LM. Assessing 21st Century Skills:A Guide to Evaluating Mastery and Authentic Learning.CA:Sage Publications; 2012.
3. Trilling B, Fadel C. 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times.NY: John Wiley & Sons Inc; 2012.
4. Rosenshine B. Principles of instruction: research-based strategies that all teachers should know. American Educator 2012; 36(1): 12-9.
5. Wuetherick B. Moving Forward with Research-Enhanced Teaching: Perceptions of Undergraduate Students and Academic Staffs. In: Murphy J, Higgs B, Griffin C, editors, Research-Teaching Linkages: Practice and Policy-Proceedings of the National Academy‘s Third Annual Conference. NAIRTL; 2010.
6. Suwanwela C. Research Based Learning. Bangkok: Chulalongkorn University; 2002.
7. Healey M. Linking research and teaching to benefit student learning. J Geogr High Educ 2005; 29(2): 183-201.
8. Van den Akker J. Principles and Methods of Development Research. In: van den Akker J, Branch R, Gustafson K, Nieveen N, Plomp T, editors, Design approaches and tools in education and training. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers; 1999. p.1-15.
9. Baldwin G. The teaching-research nexus: How research informs and enhances learning and teaching in the University of Melbourne. Melbourne: The University of Melbourne. 2005. Available from: http://www.cshe.unimelb.edu.au.
10. Jenkins A, Blackman T, Lindsay R, Paton-Salzberg R. Teaching and Research:students' perspectives and policy implications. Stud High Educ 1998; 23(2): 127-41.
11. Entwistle N, Thompson S, Tait H. Guidelines for Promoting Effective Learning in Higher Education, Centre for Research on Learning and Instruction, University of Edinburgh; 1992.
12. Sinlarat P. Research Based Learning, 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2004.
13. Sinlarat P. Technique of Teaching and Learning of Higher Education, 4th ed. Bangkok: V. Printing; 2013.
14. Bygate M, Swain M, Skehan P. Researching Pedagogic Tasks: Second Language Learning, Teaching, and Testing. Routledge: Taylor & Francis Group; 2013.
15. Chaowateeratipong N, Namfha B, Thaitae C.Student Centered Learing. Bangkok: Thailand Education Reform Organization; 2002

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-24

How to Cite

1.