การพัฒนาระบบการประสานงานการดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • บงกชรัตน์ ยานะรมย์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การดูแลต่อเนื่อง, การประสานงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของระบบการประสานงานการดูแลต่อเนื่อง ตามแนวคิดของแคมมิส และแม็คการ์ท (Kemmis & McTaggart) คัดเลือกผู้วิจัยร่วมแบบเจาะจง จำนวน 33 คน ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานดูแลต่อเนื่องสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร 1 คน และผู้วิจัยร่วมจากกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลยโสธร จำนวน 16 คน จากโรงพยาบาลชุมชน 8 คน จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ 8 คน ดำเนินการวิจัย 2 รอบ รอบละ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินสถานการณ์ 2) การวางแผนดำเนินการ 3) การปฏิบัติ 4) การประเมินผลและการสะท้อนผลการปฏิบัติ เก็บข้อมูล โดยวิธีการสนทนากลุ่ม การสอบถาม และการประชุมระดมสมอง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ระยะเวลาที่ศึกษา 1 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา: ก. สถานการณ์การดูแลต่อเนื่อง ได้แก่  1) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ไม่มีการวางแผนการจำหน่ายร่วมกันกับชุมชน และบุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย 2) ด้านกระบวนการ พบว่า ไม่มีแนวทางการประสานงานการดูแลต่อเนื่องที่เป็นแนวทางเดียวกัน 3) ด้านผลผลิต พบว่า ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ทำให้ไม่สามารถติดตามสรุปประมวลผลข้อมูลได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ และการตอบกลับผลการเยี่ยมบ้านต่ำกว่าเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 15.79  ข. ระบบการประสานงานการดูแลต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยนำเข้า จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานการดูแลต่อเนื่อง กำหนดแนวทางการวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยโรคซับซ้อนโดย Case manager จัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคซับซ้อน 2) ด้านกระบวนการ กำหนดแนวทางการดูแลต่อเนื่องที่เป็นแนวทางเดียวกัน มีการประสานงานการดูแลต่อเนื่องผ่านโปรแกรม Thai COC 3) ด้านผลผลิต สรุปผลการดูแลต่อเนื่อง นำเสนอในการประชุมเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลต่อเนื่องจังหวัดยโสธรทุกเดือน ประเมินผลระบบการประสานงานการดูแลต่อเนื่องพบว่า ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์การเยี่ยมบ้านและการจัดระดับความรุนแรงของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 70.52) การตอบกลับการเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 70.52) และบุคลากรมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับมากที่สุด (Mean = 4.61, S.D. =1.17)

References

Onchunchuenchit S, Phontrong R. Home health services. 2nd ed. Rajabhat University; 2006.

Terathongkum S, Prasatkaew N, Maneesriwongul W. Effects of a home visit and telephone follow-up program on health behaviors and health status in persons with uncontrolled hypertension. Rama Nurs J 2014;20(3):356-71. (in Thai)

Summary of continuity of care. Yasothorn Hospital; 2018. (in Thai)

Kemmis S, McTaggart R. The action research reader. Victoria: Deakin University; 1990.

Home Visit Guide. Yasothorn: Yasothorn Hospital; 2018. (in Thai)

Mahantussanapong C. Success of an increase in home visit care response rates by using information programs to continuous of care. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2018;35(4):355-62. (in Thai)

Ounsiem J. The model development of participatory management for long term care of elderly in regional health 11. Journal of Medical Technology 2016; 30(4): 261-68. (in Thai)

Srikammuan J, Sumalai K, Saiklang P. Long term care (LTC2). Journal of the Thai Medical Informatics Association 2018;1:23-31. (in Thai)

Khiewksad C, et.al. The study and development of long-term care for the elderly by integrating community participation health and environmental. Khon Kaen: Health Promotion Development Group, Health Center 6 Khon Kaen; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31