การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกด้วยโครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์

ผู้แต่ง

  • วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต มารดาและทารก โครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาประเทศประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและทารกจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต  โครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ เป็นโครงการที่มีการส่งเสริมบิดามารดาให้มีความเห็นถูกต้องในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ใช้เวลา 10 เดือนของการตั้งครรภ์ ทำให้เด็กคนหนึ่งได้มีโอกาสเป็นบุคคลประเสริฐเพราะครรภ์ของมารดา คือ โลกของลูก ที่จะได้เรียนรู้โลกใบใหญ่นี้ผ่านฮอร์โมนที่บ่งบอกอารมณ์ของมารดาในแต่ละขณะจิต ดังนั้น การรักษาใจของมารดาไม่ให้หงุดหงิดขุ่นมัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีบิดาเป็นผู้เกื้อกูลและให้กำลังใจทำให้มารดาและทารกมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

1. Rattanangam S. The effectiveness of the Buddhist way for children raising in purifying citta from pregnancy project by Sathira-dhammasathan, Bangkok. Research report. Bangkok: Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture; 2008. (in Thai)
2. Sathirasuta Mae Chee Sansanee. Academic conference on natural childbirth according to the sufficiency economy. Chonburi: Department of Maternal and Child, Faculty of Nursing, Burapha University; 2008. (in Thai)
3. Sathirasuta Mae Chee Sansanee, Saenmaneechai M, Kulnanan S. Jitprapatsorn in fetal development and health empowerment of pregnant women. In:Titapant V, Phadungkiatwattana P, Nawapun K., editors, Perinatal Practice medicine in changing society. Bangkok: Union Creation; 2010. (in Thai)
4. Sathirasuta Mae Chee Sansanee. Academic conference on Jitprapatsorn and natural childbirth to a strong family. Chonburi: Department of Maternal and Child, Faculty of Nursing, Burapha University; 2012. (in Thai)
5. Sattamai C. Serene Mind Project on Perinatal Outcome in Primiparous. Medical Journal Sisaket Hospital Surin Buri Ram 2011; 26(1): 32-47. (in Thai)
6. Sawatphanit W. et al. Model for natural childbirth services by Jitprapatsorn. Journal of Liberal Arts, Maejo University 2015; 3(1): 95-120. (in Thai)
7. Nongbuadee S., Suwannatrai U., Eampornchai S. Health care and promotion for pregnant and postpartum women with Thai traditional medicine. In: Vantanasiri C., Boriboonhirunsarn D., Chanprapaph P.,editors, Krobkruakunnaparp. Bangkok: P.A. Living; 2006. (in Thai)
8. Sawatphanit W. Nursing of postpartum mothers 8thed. Chonburi: Srisilp; 2014. (in Thai)
9. Kemmis & Mc Taggart. The Action research planner. (3rd ed). Victoria: Deakin University; 1990.
10. Humenick, S.S. The Life-Changing Significance of Normal Birth. The Journal of Perinatal Education 2006; 15(4): 1-3.
11. Hunter, L.P. Women give birth and Pizzas are delivered: Language and Western Childbirth Paradigms. Journal of Midwifery & Women’s Health 2006; 51(2): 119-124.
12. Murray SS., McKinney ES. Foundations of maternal – newborn nursing 4 thed. USA : Saunders; 2006.
13. Makhon M. Life Experience of The Pregnant Women who Participated in The Serene Mind Project. Research report. Khon Kaen; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-25

How to Cite

1.