การพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดระบบริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุ์ของแม่วัยรุ่น : กรณีศึกษา จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์, แม่วัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยและเชิงพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของแม่วัยรุ่นเพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำและการทำแท้ง เพื่อให้แม่วัยรุ่นเข้าถึงบริการคุมกำเนิดหลังคลอดและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยระบบการให้การปรึกษา โดยให้การปรึกษาตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์และคลินิกวัยรุ่น ให้การปรึกษาซ้ำในระยะคลอด/หลังคลอดและมีการให้การปรึกษาทางเลือกแก่แม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ประเมินผลลัพธ์ด้วยการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมที่มีการแนะนำการคุมกำเนิดระยะหลังคลอดและกลุ่มทดลองที่มีระบบการให้การปรึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีการคุมกำเนิดหลังคลอดร้อยละ 89.4 ด้วยวิธียาฝังมากที่สุดคือร้อยละ 85.6 ทำให้อัตราคุมกำเนิดด้วยยาฝังของแม่วัยรุ่นของจังหวัดกระบี่ ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 80.1 อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำลดลงเหลือร้อยละ 14.5 และอัตราการคลอดของแม่วัยรุ่นลดลงกว่าเป้าหมาย การปรึกษาทางเลือกแก่แม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมทำให้แม่วัยรุ่นเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ