ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล*
คำสำคัญ:
การบาดเจ็บสมอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน 2561 จำนวน 95 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-Square Statistics และ Univariate regression analysis ผลการวิจัยพบอุบัติการณ์ความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองร้อยละ37.89 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง ได้แก่ ตำแหน่งสมองที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณ Parietal area และ Temporal area, ตำแหน่งสมองที่ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 1 ตำแหน่ง, ระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บสมองจนถึงได้รับยากันชัก, การผ่าตัดแบบ decompressive craniectomy, ค่าคะแนน GCS แรกรับ, อุณหภูมิกายสูงสุดหลังเข้ารับการรักษา 24 ชั่วโมงแรก, ค่าเฉลี่ย DTX 24 ชั่วโมงแรก, ค่า O2 saturation แรกรับ, ค่า PaCO2 และ ผล CT brain พบ midline shift
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ