การปฏิบัติพยาบาลครอบครัวที่มีบุคคลบาดเจ็บไขสันหลัง : การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ ไชยเชษฐ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว บาดเจ็บไขสันหลัง การทบทวนอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบมีเป้าหมายเพื่อสังเคราะห์แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีบุคคลบาดเจ็บไขสันหลังจากฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพการวิจัย พบการศึกษาตามเกณฑ์ที่ กำหนด 6 เรื่อง นำมาวิเคราะห์โดยตารางเมตริกซ์ ผลการศึกษาพบว่าการพยาบาลในประเทศไทยส่วนมากเน้นการให้ความรู้และทักษะแก่ผู้ดูแลในบริบทโรงพยาบาล การศึกษาในต่างประเทศส่วนมากเป็นโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพบุคคลบาดเจ็บไขสัน การเสริมสร้างความสามารถในการดูแลและการเผชิญปัญหา ลดความเครียดและการจัดการด้านอารมณ์ของครอบครัว ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ประเมินด้านจิตอารมณ์ ความรู้ ทักษะและคุณภาพชีวิต ไม่พบการศึกษาที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างการปรับตัวของครอบครัวทั้งระบบ ดังนั้นจึงควรพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวที่มีบุคคลบาดเจ็บไขสันหลังในระยะวิกฤติเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวของบุคคลและครอบครัวต่อไป

References

1. ดลนภัส กลิ่นหวาน. พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่างจากการบาดเจ็บไขสันหลัง [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาล]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
2. Somer, M.F. Spinal cord injury: functional rehabilitation. Boston : Prentice Hall; 2001.
3. National Spinal Cord Injury Statistical Center. Spinal cord injury facts and figure at a glance. (2016). Spinal cord injury facts and figure at a glance. [Internet]. 2016 [cited 2017 Jun 15] Available from: https://www.nscisc.uab.edu/Public/Facts%202016.pdf
4. งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น. สถิติผู้ได้รับบาดเจ็บไขสันหลังโรงพยาบาลขอนแก่น ปี 2556-2559. ขอนแก่น : โรงพยาบาลขอนแก่น; 2558.
5. อภิชนา โฆวินทะ. ตำราบาดเจ็บไขสันหลังการฟื้นฟูสภาพอย่างครอบคลุม. เชียงใหม่ :
สุทินการพิมพ์; 2555.
6. อรวรรณ ดงหงส์. การปรับตัวด้านจิตสังคมของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
7. Jha , A. & Charlifue, S. Aging in SCI. In : Kirshblum, S.& Campagnolo, D.I. edited. Spinal Cord Medicine. China :Lippincott Williams & Wilkins, a Wolters Kluwer business; 2011
8. นคัมยภรณ์ ชูชาติ รัตนา วิเชียรศิริ ปรีดา อารยาวิชานนท์ และณัฐเศรษฐ มนิมนากร.
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจากอุบัติเหตุใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร; 25(1): 15-21;(2558)
9. สุภาพ เหมือนชู ภาวนา กีรติยุตวงศ์ และ วริยา วชิราวัธน์. ปัจจัยทำนายการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลได้รับบาดเจ็บไขสันหลัง.วารสารสภาการพยาบาล. มกราคม-มีนาคม 2559: 124-136.
10. Dyck, D. G., Weeks, D. L., Gross, S., Smith, C.L., Lott, H.A., Aimee, J., Wallace, A.J., and Wood, S.M. Comparison of two psycho-educational family group interventions for improving psycho-social outcomes in persons with spinal cord injury and their caregivers: a randomized-controlled trial of multi-family group intervention versus an active education control condition. Study protocol; 2016: 4(40), 1-8
11. Molazem, Z., Falahati, T., Jahanbin, I., Jafari, P., & Ghadakpour, S. (2014). The Effect of Psycho-Educational Interventions on the Quality of Life of the Family Caregivers of the Patients with Spinal Cord Injury: A Randomized Controlled Trial. IJCBNM; 2014;2(1) : 31-39.
12. แสงรุ้ง รักอยู่. ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556
13. ฐาปณี องคสิทธิ์. กรณีศึกษาการสนับสนุนผู้ดูแลในการดูแลผู้บาดเจ็บไขสันหลังในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554
14. กฤษดา ศรีสุวรรณ ชนกพร จิตปัญญา และศิริพันธุ์ สาสัตย์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบาบัด: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. พฤษภาคม-สิงหาคม 2557:1-12
15. Molazem, Z., Falahati, T., Jahanbin, I., Jafari P., & Ghadakpour, S. The effect of psycho-educational interventions on general health of family caregivers of patients with spinal cord injury: A Randomized Controlled Trial. Jundishapur Journal of Chronic Disease Care; 2013;2(4):1-10.
16. Rodgers, M.L., Strode, A.D., Norell, D.M., Short, R.A., Dyck, D.G, & Becker, B. Adapting Multiple-Family Group Treatment for Brain and Spinal Cord Injury Intervention Development and Preliminary Outcomes. Article in American Journal of Physical Medicine & Rehabilitation; 2007: 86(6),482-492
17. Eaton. J & John, R. Coaching Successfully. London: DK books; 2001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-28