ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กป่วยสมองพิการ

ผู้แต่ง

  • เอมอร ทาระคำ
  • ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ, กลุ่มช่วยเหลือตนเอง, คุณภาพชีวิตของผู้ดูแล

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 30 คน ได้รับการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง เป็นเวลาทั้งสิ้น 20 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ คู่มือการเข้ากลุ่ม ช่วยเหลือตนเองของผู้ดูแล และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจาก การทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired-sample t-test

         ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเอง ผู้ดูแลเด็กสมองพิการมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

         สรุปและข้อเสนอแนะ การพยาบาลโดยการพยาบาลโดยใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเอง ทำให้ผู้ดูแลเด็กสมองพิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น ควรมีการนำกลุ่มช่วยเหลือตนเองไปใช้ในการให้การพยาบาลแก่ผู้ดูแลเด็กสมองพิการ

References

Hockenberry MJ, Wilson D, Rogers C. Wong’s nursing care of infant and children.11th ed. St. Louis: Missouri; 2019.

Weir K, Bell K, Caristo F, Ware R, Davies P,Fahey M, et al. Reported eating ability of young children with cerebral palsy: Is there an association with gross motor function Arch. Phys Med Rehabil 2013; 94: 495-502.

Debra LP, Gwin FJ. Pediatric nursing an introductory text. 11th ed. St. Louis; Missouri; 2012.

Hockenberry MJ, Wilson D. Wong’s essentials of pediatric nursing. 1th ed. St. Louis: Missouri;2017.

Kasemkitwattana S, Prison P. Chronic patients’ family caregivers: A risk group that must not be overlooked. Thai Journal of Nursing Council 2014; 29(4): 22-31. (in Thai)

Walz G, Bleue C. Developing support groups for students: Helping students cope with crises. Michigan: ERIC; 1992.

Cole S. Self-help group: Comprehensive group phychotherapy. USA: Willian & Wilkins; 1983.

Chien W, Chan S. The effectiveness of mutual support group intervention for Chinese families of people with schizophrenia: A randomised controlled trial with 24-month follow-up. Int J Nurs Stud 2013; 50(10): 1326–40.

Thanikkul P. The effect of self-help-group and empowerment on burden of caregivers of schizophrenic patients in community. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2012; 26(2): 74-86. (in Thai)

Mahatnirankun S, et al. Comparison of the quality of life test of the World Health Organization every 100 indicators and 26 indicators of Suan Prung hospital, Chiang Mai Province. Journal of Department of Mental Health 1997; 8(2): 4-15. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26

How to Cite

1.