ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาและติดตามการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวโดยใช้รูปแบการจัดการรายกรณี

ผู้แต่ง

  • อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรู้ในการดูแลตนเอง การจัดการรายกรณี สหวิชาชีพ ภาวะหัวใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เข้ารับการรักษาและติดตามผลในคลินิกหัวใจล้มเหลวโดยใช้รูปแบการจัดการรายกรณี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากพยาบาลที่เป็นผู้จัดการรายกรณีจำนวน 6 คน และจากผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 30 คน ที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลว ศูนย์หัวใจสิริกิติ์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีและแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย และแบบประเมินความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษาส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นระดับค่าเฉลี่ย 25.50 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. Kanjanawanich R, Pornhaminthikul O. Chronic Heart Failure Patient Handbook (Copies) Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Faculty of Medicine, Chiang Mai University; 2017. (in Thai)
2. Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Comprehensive Heart Failure Management Program, Keeping heart failure patients away from hospital, faculty of medicine, Chiang Mai University; 2016. (in Thai)
3. Zannad F. et al, Heart failure burden and therapy, Europace 2009,11, v1 - v9.
4. Therdsuthironaphum P. Effects of self-care promotion programs on self-care behaviors and quality of life of patients with heart failure, Prachuap Khiri Khan Hospital, Journal of Cardiothoracic Nursing 2015, 26 (1) 2-4. (in Thai)
5. American Heart Association. Heart Disease and Stroke statistic 2012 Update. Circulation, 125 e2-e220; 2012.
6. Chuekich N, Srida P. Heart attack: Nursing & Advice, Journal of Nursing 2013, 27 (1) 131-132. (in Thai)
7. Tanalad C. Effects of self-efficacy and self-efficacy program on self-care behavior of heart failure patients, Master of Nursing Science Thesis, Adult Nursing, Khon Kaen University; 2013. (in Thai)
8. Riegle B. et al., Does cognitive impairment predict poor self‐care in patients with heart failure? the Heart Failure Association of the European Society of Cardiology 2010, 12(5), p 417-419.
9. Joshua I. et al., The association of fasting glucose levels with congestive heart failure in diabetic adults ≥65 years, Journal of the American College of Cardiology 2004, 43(12).
10. Tupairoa P, Tosuksri W, Sriprasong S. Nursing care for heart failure patients, Medicine 1, NP-Press Bangkok 2009, p 52. (in Thai)
11. Kobpuengton P. et al., Development of case management system for patients with COPD and chronic disease in Nakhonping Hospital, Journal of Nursing and Health 2010, 34 (2); 22 – 23. (in Thai)
12. Simakorn J. The effects of case management on patients with anthrax affect cost, number of days, patient satisfaction and multidisciplinary team: Case study in Phramongkutklao Hospital, Nursing Administration Faculty of Nurse Chulalongkorn University; 2001. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-24

How to Cite

1.