ปัจจัยทำนายการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

-

ผู้แต่ง

  • Oraya Yensamer Songkla University

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจำนวน 97 ราย ในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้         5 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบสัมภาษณ์การได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณ ตรวจสอบความเที่ยงค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบราค (cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบป้อนเข้า ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณโดยรวมระดับมาก (x = 2.43, SD =0.22) และตัวแปรต้นทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณ ร้อยละ 28.9 (R2= 0.29, p < 0.01) และศาสนามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β= 0.12, p < 0.01) ผู้ป่วยควรได้รับการส่งเสริมการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณ เพื่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังดีขึ้น

 

References

1. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni, P, Kiattisunthorn K, et al.
Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK
study. Nephrol Dial Transplant 2009; 1(9): 1-9. (in Thai)
2. Wanawarodom P. Spiritual needs of cancer patients and spiritual support needs from nurses.
Proceeding of the HODTREN conference; 2009 June 29-30; Bangkok: Siriraj hospital; 2009.
3. Puangchompoo W. Nursing care of persons with chronic kidney disease receiving hemodialysis.
Chiangmai: Chiang Mai University Press; 2015. (in Thai)
4. The Nephrology Society of Thailand. Thailand renal replacement therapy registry report. Bangkok:
Research Center; 2015. (in Thai)
5. Highfied M F. Spiritual health of oncology patient: nurse and patient perspective. Cancer Nursing 1992; 15(1): 1-8.
6. Davison SN, Jhangri GS. Existential and supportive care needs among patients with chronic kidney
disease. Journal of Pain and Symptom Management 2010; 40(6): 838-43.
7. Jongprateep T. Spiritual nursing care. Thai Journal of Nursing Council 2004; 15(3): 55-64. (in Thai)
8. Issarapanit A. Caregivers’ capabilities in responding to the patients’ spiritual needs and the
perceived caregivers’ compassion to the spiritual needs among cancer patients undergoing
radiotherapy [Thesis]. Songkhla: Songkhla university; 2006. (in Thai)
9. Jongprateep T. Spiritual: dimensions of nursing. Bangkak: Boonsiri; 2006. (in Thai)
10. Wiriyasombut R. Elderly: dimensions of spiritual. Songkhla: Mongkon; 2013. (in Thai).
11. Pattrapadikul U. Spiritual care for hospitalized patients with chronic illness. Thai Journal of
Nursing Council 2010; 25(1): 100-111.
12. Cheawchanwattana A, Chunlertrith D, Saisunantararom W, Johns N P. Does the spiritual well-
being of chronic hemodialysis patients differ from that of pre-dialysis chronic kidney disease
patients?. Religions 2015; 6: 14–23.
13. Ibrahim F. Spiritual dimensions of nursing. Bangkok: Ruankaw; 1991. (in Thai)
14. Kunsongkeit W. Spiritual health of Thai people. Thai Journal Nursing Research 2004; 8(1): 64-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-07