การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของเด็กวัยเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย

ผู้แต่ง

  • ทิม ปัตตะพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี พุทธชินราช

คำสำคัญ:

การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ เด็ก พื้นที่เสี่ยงภัย การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของเด็กวัยเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยที่โรงเรียนบ้านผาเดื่อโดยใช้การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลเป็นเด็กอายุ 6 -12 ปีจำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าความหมายของการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติคือ  “การประเมินสถานการณ์และจัดการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว” “การติดตามข่าวสารการเตือนภัย”  “มีความรู้ได้ความรู้และส่งต่อความรู้”  “การตระเตรียมล่วงหน้า” .”หัวใจพร้อมเผชิญภัยพิบัติ”     และ“หวังผลให้อยู่รอดปลอดภัย”  ผลการศึกษานำไปสู่การพัฒนาการเตรียมพร้อมเด็กเพื่อรับมือกับภัยพิบัติและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสนับสนุนการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติในเด็กต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-10