การบำบัดแนวสตรีนิยม (Feminist therapy)
คำสำคัญ:
feminist, women, psychosocial therapy, mental health, depressionบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การบำบัดทางจิตสังคมที่นำมาใช้ในการบำบัดผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้กรอบแนวคิดที่มองว่าปัญหาเกิดจากระดับบุคคล แต่แนวคิดสตรีนิยมมองว่าสาเหตุของปัญหามาจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม ผู้หญิงหลายคนถูกกดทับในการดำเนินชีวิตภายใต้สังคมแบบชายเป็นใหญ่ ที่ผู้ชายมีอภิสิทธิ์ มีโอกาส มีอำนาจ มีอิสระ และสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้มากกว่าผู้หญิง ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสถูกกดทับ กีดกัน และคุกคาม นำมาสู่การเกิดความเครียดเรื้อรังและปัญหาสุขภาพจิต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิด หลักการ และเทคนิคการบำบัดแนวสตรีนิยมสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปฏิบัติงานงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้หญิง และให้ข้อเสนอแนะต่อการนำแนวคิดสตรีนิยมมาใช้ในงานสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทย
คำสำคัญ สตรีนิยม ผู้หญิง จิตสังคมบำบัด สุขภาพจิต ซึมเศร้า
Abstract
Most psychosocial therapy in Thailand views problems at individual level. Feminist views problems that most women encounter is originated from unequal social structure. Many women are oppressed in living under patriarchy society that men have more opportunity, privilege, power, access to resources, and freedom than women. Living in a patriarchy society, women have risks of chronic distress and receive violence in various forms. This paper aims to present feminist framework and techniques of feminist therapy for people who have mental problems in order to provide alternative treatment model for those who work related to women’s mental health. Suggestions for employing feminist framework in mental health and mental illness in Thailand are included.
Keywords: feminist, women, psychosocial therapy, mental health, depression
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานที่ตีพิมพ์ห้ามผู้ใดนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพไปเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ การนำบทความไปเผยแพร่ออนไลน์ การถ่ายเอกสารบทความเพื่อกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน การส่งบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น ยกเว้นเสียแต่ได้รับอนุญาตจากวารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ