การพัฒนาระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.29คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบแจ้งซ่อมออนไลน์, ไมโครซอฟท์ แพลนเนอร์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน กับความพึงพอใจต่อระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและปัญหาจากสภาพปัจจุบันเพื่อนำไปสร้างระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ โดยนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและใช้งานในระบบออนไลน์ผ่านเว็บเพจของคณะทันตแพทยศาสตร์ และระบบคิวอาร์โค้ด นำระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ที่ได้มาประเมินความพึงพอใจโดยบุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วย ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.46, SD = 0.02)
ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน กับความพึงพอใจต่อระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์จากการศึกษา พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน กับความพึงพอใจต่อระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นมีความสะดวกในการใช้งาน สามารถลดขั้นตอนการทำงาน เนื่องจากมีความสะดวกในการจัดเก็บเป็นไฟล์เอกสาร ลดเวลาของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการแจ้งซ่อม ประมวลผลและสรุปผลได้ถูกต้องแม่นยำเป็นตัวเลขและกราฟ ข้อมูลที่จัดเก็บสามารถใช้ในรูปแบบออนไลน์กับคอมพิวเตอร์และผ่านโทรศัพท์มือถือ จึงมีประโยชน์เหมาะสมที่จะนำมาใช้ให้บริการ
References
ณัฎฐนิช พยนต์ยิ้ม ปภาอร เขียวสีมา ลักษิกา สว่างยิ่ง และ พรพัฒน์ ธีรโสภณ. (2565). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์ม และกูเกิลคาเลนดาร์ ในการบริหารจัดการระบบจองห้องเรียน. วารสารวิชาการ ปขมท. 11(2), 182 – 192.
ประทีป เทพยศ และ อภิรมย์ อังสุรัตน์. (2564). การพัฒนาและประเมินระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 8(2), 1-12.
ปภาอร เขียวสีมา และ ลักษิกา สว่างยิ่ง. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยและห้องปฏิบัติการ คณะทันต-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. [รายงานการวิจัย]. คณะทันตแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา.
พลวัฒน์ สามพ่วงบุญ และ กิตติ หวนสันเทียะ. (2559). ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ กรณีศึกษา บริษัท เจเจแอลคอมพิวเตอร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม.
ภานุวัฒน์ โลมากุล และ วรินทร ซอกหอม. (2564). ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์เพื่อการแจ้งซ่อมและติดตามงานอาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.[เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยพะเยา.
รัตยากร ไทยพันธ์, วลัยภรณ์ ศรเกลี้ยง, ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน, วีระยุทธ สุดสมบูรณ์, ฉัตรชัย แก้วดี, และ ธิดารัตน์ ทองเทียบ. (2564). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน สำหรับการแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(1), 71-85.
สมสุข นาคะพัฒนกุล และ ปพิชญา นิเทศ. (2561). ระบบบริหารงานแจ้งซ่อมบำรุงออนไลน์.วารสารวิชาการ ปขมท. 7(1): 36 – 46.
Hinkle, D.E, William, W. & G.J. Stephen. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th 309 ed. 310 Houghton Mifflin.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Microsoft-365. (2565, 10 ตุลาคม). Microsoft Planner. https://www.office.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.