การพัฒนาระบบบริหารจัดการความร่วมมือด้านต่างประเทศและเครือข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.35คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, บริหารจัดการ, ความร่วมมือบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการความร่วมมือด้านต่างประเทศและเครือข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่สามารถจัดเก็บ ติดตาม ตรวจสอบ และค้นหาข้อมูลคู่ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศที่มีความสะดวก รวดเร็ว และแจ้งเตือนการต่ออายุคู่ความร่วมมือแบบอัตโนมัติให้สามารถเตรียมการได้อย่างทันท่วงที ซึ่งง่ายต่อการนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อช่วยสร้างความเป็นนานาชาติและการยกระดับสถาบันให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้ โดยใช้ขั้นตอนการพัฒนาเป็นไปตามกระบวนการวงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) และทำการประเมินประสิทธิภาพของระบบ ออกเป็น 4 ด้านคือ ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ (Functional Test) ด้านความยากง่ายในการใช้งาน (Usability Test) ด้านสมรรถนะในการทำงานของระบบ (Performance Test) และด้านความปลอดภัย (Security Test)
ผลการวิจัย พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือและกิจกรรมความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบ การพัฒนาระบบและการบริหารจัดการงานวิเทศสัมพันธ์ พบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.37, S.D.=0.49) สรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงได้
References
งานวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). PSU MoU Database. https://iao.psu.ac.th/MOUList.aspx
งานเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2565). Our Procedure for MoU/MoA proposals. https://sites.google.com/psu.ac.th/sci-ir/About-us/mou
ทัชพงษ์ ปิ่นแก้ว. (2563). การพัฒนาต้นแบบระบบบริหารงานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 73-83.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่(พิมพ์ครั้งที่9). สุวีริยาสาส์น.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. สถาบันเทคโนโลยี-พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วุฒิพงษ์ ชินศรี และ ศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอบพลิเคชันสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 1-17.
อัญชลี วิเลิศศักดิ์. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นผลงานทางวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารวิชาการ ปขมท, 11(1), 159-168.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม.ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.