การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีต่อระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ใจกล้า คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ปรีชา อ่วมนาค คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.10

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การให้บริการ, ระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่อง การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาที่มีต่อระบบ
การเบิก-จ่ายพัสดุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาที่มีต่อระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ 2) เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการ เบิก-จ่ายพัสดุ ของคณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรมีระดับความพึงพอใจต่อระบบการเบิก-จ่ายพัสดุในระดับมาก (µ = 3.84, gif.latex?\sigma = 0.89) 2) บุคลากรมีระดับความพึงพอใจด้านบุคลากร (เจ้าหน้าที่พัสดุ) ในระดับมาก (µ = 3.98, gif.latex?\sigma = 0.95) ส่วนปัจจัยที่บุคลากรต้องการให้พัฒนาหรือส่งเสริมให้ดีขึ้น คือ สถานที่ในการจัดเก็บวัสดุสำนักงานและสถานที่ในการปฏิบัติงานของบุคลากรควรอยู่ในสถานที่เดียวกัน อีกประการที่บุคลากรมีความต้องการให้งานพัสดุดำเนินการเพื่อสนับสนุนระบบการเบิก-จ่ายพัสดุ คือ เจ้าหน้าที่พัสดุ ควรระบุระยะเวลาในการเบิก-จ่ายให้ชัดเจน รวมถึงควรใช้ระบบสารสนเทศมาใช้ในการเบิก-จ่าย

References

กัญญารัตน์ ประทุม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 5(2), 18-19.

พิพัฒน์ ก้องกิจกุล. (2546). คู่มือปฏิบัติ วิธีวัดความพึงพอใจของลูกค้า (Measuring Customer Satisfaction). ธรรกมลการพิมพ์.

เพทาย ทองมหา. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงานของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาจังหวัด. [ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/4139/4103.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (2535, 20 มกราคม). วิทยายุทธการพัสดุ. หมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 1 นิยาม หน้า 2. https://www.dsi.go.th/Files/Images/img20160624140819-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B82535.pdf

วาสนา หัตถกิจ. (2555, 7 ธันวาคม). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการงานพัสดุของหน่วยงานภายใน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต-กำแพงแสน. [การนำเสนอผลงานวิจัย]. การประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม, ประเทศไทย https://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/img/gallery/article_9/pdf/o_human62.pdf

สุกัญญา ศรีทับทิม. (2555). กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร]. https://lib.pnru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=64998.

สาวิตรี พิชญชัย และ ณัชชา พวงสมบัติ. (2559). การใช้บริการงานพัสดุของบุคลากรในวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 41-55.

อุรา วงศ์ประสงค์ชัย, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, และ ผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2556). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานพัสดุมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 139-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย