การศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี หินแก้ว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.22

คำสำคัญ:

ต้นทุนต่อหัว, ต้นทุนทางตรง, ต้นทุนทางอ้อม, บัณฑิตทันตแพทย์

บทคัดย่อ

             การศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนรวมในการผลิตบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) ศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลงบประมาณรายจ่าย และจำนวนนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย โดยวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายจากส่วนกลาง

             ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า คณะทันตแพทยศาสตร์มีค่าใช้จ่ายจริง ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 49,725,303.43 บาท เป็นงบบุคลากร จำนวน 23,347,856.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.98 งบลงทุน จำนวน 6,994,748.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.07 งบดำเนินงาน จำนวน 14,957,589.77 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.08 งบเงินอุดหนุน จำนวน 960,839.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.93 และงบรายจ่ายอื่น จำนวน 468,269.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.94 ต้นทุนรวมในการผลิตบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 49,725,303.43 บาท เป็นต้นทุนทางตรง จำนวน 28,972,769.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.27 ต้นทุนทางอ้อม จำนวน 20,752,534.02 บาท คิดเป็นร้อยละ 41.73  โดยเป็นต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิตของนิสิตชั้นปีที่ 2 มากที่สุด จำนวน 13,249,005.47 บาท รองลงมาเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 12,345,664.18 บาท และนิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 10,840,095.38 บาท ตามลำดับ ซึ่งจากการวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตบัณฑิตพบว่าเป็นต้นทุนด้านงบบุคลากรมากที่สุด รองลงมาเป็นงบลงทุนและงบดำเนินงานตามลำดับ  โดยหากรับนิสิตตามเป้าหมายที่กำหนด จำนวน 30 คน และรักษาอัตราคงอยู่จนนิสิตสำเร็จการศึกษา ต้นทุนในการผลิตบัณฑิตจะลดลง ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าและประสิทธิผลของการบริหารจัดการยิ่งขึ้น

References

ธนรุจ โรจน์มานะวงศ์. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี กรณีศึกษา นิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา-ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยบูรพา. https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/10618.

ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี.สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558, 16 มกราคม). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 ปรับปรุง 2557. เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์https://www.tfac.or.th/upload/9414/3CG33HfDTO.pdf

ลำไย มากเจริญ. (2556). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ทริปเปิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

อารีณัฎฐ์ สีแก้ว. (2557). ต้นทุนต่อหัวในการผลิตบัณฑิตแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2645/1/RMUTT-147708.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย