การพัฒนาเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport สำหรับยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิเข้าสอบ TCAS รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.28คำสำคัญ:
e-Passport, ระบบรับบัตร e-Passport, เว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passportบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport 2) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport สำหรับยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิเข้าสอบ TCAS รอบที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพของเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport สำหรับยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิเข้าสอบ TCAS รอบที่ 2 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย เว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport แบบประเมินคุณภาพเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport และแบบประเมินความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ จำนวน 364 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการพัฒนาเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport สำหรับยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิเข้าสอบ TCAS รอบที่ 2 พบว่า นักเรียนที่เข้าสอบสามารถดาวน์โหลดบัตร e-Passport เพื่อนำไปใช้ในการตรวจสอบหมายเลขห้องสอบ เลขที่นั่งสอบ วันที่สอบ อาคารที่จัดสอบ และนำไปใช้ยืนยันตัวตนในการเข้าห้องสอบตามอาคารเรียนต่าง ๆ ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กำหนดเป็นสถานที่จัดสอบได้ ส่วนในด้านการบริหารจัดการจำนวนผู้เข้าสอบ TCAS ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สามารถแก้ไขความแออัด ณ บริเวณ จุดยืนยันตัวตนผู้มีสิทธิเข้าสอบ TCAS ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากนักเรียนที่เข้าสอบ จะสามารถเข้าอาคารสถานที่จัดสอบได้ตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในบัตรเท่านั้น ซึ่งนักเรียนที่เข้าสอบในแต่ละห้องสอบ จะเข้าอาคารเรียนในเวลาที่แตกต่างกัน
โดยผลการวิเคราะห์ความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport พบว่า มีความต้องการและความพึงพอใจในการใช้งานบัตร e-Passport อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, SD = 0.39) ผลการวิเคราะห์คุณภาพเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport พบว่า คุณภาพทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (
= 4.65, SD = 0.35) คุณภาพทางด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก (
= 4.55, SD = 0.45)
References
ชาคริต เทียนทอง. (2566). การพัฒนาเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Portfolio สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการได้รับวัคซีนครบตามที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกำหนด. วารสารสาระคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 1-19.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแกว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่างการวัดผลการศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 22-25.
ประทีป ศรีวิภาค, เปมิตา สิงห์โส, ภวัต พหรมมะ และ รวิ อุตตมธนินทร์. (2563). เครื่องต้นแบบตรวจสอบบัตรยืนยันตัวตนด้วยระบบประมวลผลภาพ. การประชุมวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับชาติ. ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการ วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. สุวีริยาสาส์น.
สุจิตรา ยอดเสน่หา. (2560). การประยุกต์ใช้ระบบยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียวในการบริหารจัดการห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1), 42-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.