การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการของวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • วิทวัส เพ็ญภู่ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พีร วงศ์อุปราช วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.8

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, บริการวิชาการ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการของวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการที่พัฒนาขึ้น และ 3) เพื่อศึกษาการยอมรับระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการตามแนวทางของแทม (Technology acceptance model : TAM) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบประเมินระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยีตามแนวทางของแทม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการ ประกอบด้วย โครงการอบรมระยะสั้น การเป็นวิทยากรและการบรรยายพิเศษ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบอื่น ๆ 2) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบริการวิชาการมีประสิทธิภาพเหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน (S-CVI=1.00) และ 3) การยอมรับเทคโนโลยีตามทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี ของบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.40, SD=.62)

References

จักรี ทำมาน และ มานิตย์ อาษานอก. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ส่งเสริมการยอมรับเทคโนโลยีตามแบบจำลอง TAM เพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(2), 17-26.

ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ศักดิธัช ทิพวัฒน์, จันทิมา เขียวแก้ว, ธนณัฏฐ์ สากระสัน และ สุพรรษา พรมสุคนธ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร วพบ.สระบุรี. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 11(2), 61-77.

นิรมล ชอุ่ม, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, และ กนก พานทอง. (2563). การพัฒนาระบบคลังคำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี: การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 14(2), 38-52.

นุชนาถ อินทรวิจิตร. (2557). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทบทวน เรื่อง ตัวแปรและตัวดำเนินการในการเขียน โปรแกรมด้วยภาษาซีชาร์ป (C#) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า-คุณทหารลาดกระบัง].

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2551). การใช้ ICT พัฒนาและบริหารกำลังคนฯ. วารสารวิทยบริการ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม, 16(1), 48-61.

พฤกษ์ คงบุญ, วรปภา อารีราษฎร์, และ เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2558). การพัฒนาระบบการบริหาร จัดการงานประชุมวิชาการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

รัชนี ศรีทาเกิด. (2552). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อสร้างการยอมรับนวัตกรรมยุติธรรมชุมชนของกรมคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

วิโรจน์ ชัยมูล และ สุพรรษา ยวงทอง. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. โปรวิชชัน.

Toffler, B. L. (1981). Occupational role development: The changing determinants of outcomes for the individual. Administrative Science Quarterly, (26)3, 396-418.

Wallace, L. G., & Sheetz, S. D. (2014). The adoption of software measures: A technology acceptance model (TAM) perspective. Information & Management, 51(2), 249-259.

Waltz, C. F., Strickland, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in nursing and health research (4th ed.). Springer

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย