การประเมินการใช้วงล้อลดไข้บรรเทาปวดเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา

ผู้แต่ง

  • สุฑามาศ ตานะเศรษฐ ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • รัชนีพร เสไธสง ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.16

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อนทางยา, เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวด, การคำนวณการจ่ายยาน้ำลดไข้บรรเทาปวด-พาราเซตามอล

บทคัดย่อ

             ความคลาดเคลื่อนทางยาเป็นตัวชี้วัดในการประเมินด้านการจัดบริการระบบยา เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย ข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาสามารถสะท้อนถึงความเชื่อมโยงในการทำงานของทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างเครื่องมือลดความคลาดเคลื่อนทางยา 2) เพื่อประเมินผลการลดความคลาดเคลื่อนทางยาในการสั่งจ่ายยาลดไข้บรรเทาปวดพาราเซตามอลจากการใช้เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวด 3) เพื่อประเมินผลการลดระยะเวลาการคำนวณการสั่งจ่ายยาลดไข้บรรเทาปวดพาราเซตามอลจากการใช้เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวด การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การสร้าง พัฒนาเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 2) การทดลองใช้เครื่องมือและ 3) การสรุปผลการดำเนินงาน ทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากใบสั่งยาจำนวน 222 ใบ ของผู้มารับบริการฉีดวัคซีนพื้นฐานที่ได้รับยาน้ำลดไข้บรรเทาปวดพาราเซตามอล และเจ้าหน้าที่ให้บริการ จำนวน 5 คน ในคลินิกเด็กดีของศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่หาจำนวนและร้อยละ

             ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวดที่พัฒนามาจากวงล้อเสริมธาตุเหล็กเฟอร์โรคิ 2) การใช้เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวดลดความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง จากร้อยละ 34.54 เหลือเพียงร้อยละ 1.78    3) การใช้เครื่องมือวงล้อลดไข้บรรเทาปวดลดระยะเวลาในการคำนวณการจ่ายยาต่อเด็ก 1 รายลดลง จาก 7.24 วินาทีเหลือเพียง 3.13 วินาที และ 4) เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือในระดับมากที่สุดถึงร้อยละ 80 

References

จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล และ ภาสกร รัตนเดชสกุล.(2560, 4 กรกฎาคม). ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบจัดการด้านยา. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม. https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=303%3B

นุชจรินทร์ จิตตาดู และ ฉัตรสุดา จิตตาดู. (2561, 1 มิถุนายน). นวัตกรรม วงล้อยามหาสนุก. โรงพยาบาลจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. http://chomthonghospital.go.th/cth2015/wp-ontent/uploads/2018/06/2560-นวัตกรรมเรื่องวงล้อยามหาสนุก-ICU.pdf

ภูรี อนันตโชติ, จิราภรณ์ อุษณกรกุล, เสาวคนธ์ รัตนวิจิตรา-ศิลป์, อินทิรา กาญจนพิบูลย์, ทวีพงษ์ อารียโสภณ, สุธีรา เตชคุณวุฒิ, และ ชมภูนุช สุคนธวารี. (2550, 1 พฤศจิกายน). การทดลองใช้และประเมินผลตัวชี้วัดสาหรับงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาล. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สภาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/643?locale-attribute=th

มังกร ประพันธ์วัฒนะ. (2550). นิยามและการจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านยาเชิงบูรณาการ (Terminology and Comprehensive Adverse Drug Event Management). คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. http://hospital.moph.go.th/bankhai/ADE.pdf

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี. (2557, 26 มิถุนายน). การใช้และปัญหาจากยาใกล้ตัว: ทำความรู้จักยาพาราเซตามอล (paracetamol). คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/knowledge_general_population/paracetamol

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2559, 25 พฤษภาคม). รพร.ยุพราชสว่างแดนดินประดิษฐ์ “เครื่องช่วยคำนวณขนาดยาในเด็ก” ลดผิดพลาดสั่งจ่ายยา. https://www.hfocus.org/content/2016/05/12218

สุฑามาศ ตานะเศรษฐ และ ศรัชฌา กาญจนสิงห์. (2564). ผลการใช้วงล้อเสริมธาตุเหล็ก FERROKID® เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา(Results of using iron supplement wheels: FERROKID® to reduce medication error). วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง, 35(2), 31-42.

National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCC MERP). (2020, 1 January). About Medication Errors. NCC MERP. https://www.nccmerp.org/about-medication-errors

WebMD LLC. (2020, 1 April). Acetaminophan. Medscape prescription drug monographs. https://reference.medscape.com/drug/tylenol-acetaminophen-343346

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย