เปรียบเทียบการทดสอบน้ำมันและไขมันในน้ำเสียสังเคราะห์ ระหว่างการสกัดด้วยกรวยแยกกับการสกัดด้วยซอกฮ์เลต

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย ใจขาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภาณี จันทร์ศิริ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สมเจตน์ ทองดำรงธรรม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อนุสรา สารักษ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ไพเราะ แสนหวัง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.27

คำสำคัญ:

การสกัดด้วยกรวยแยก, การสกัดด้วยซอกฮ์เลต, น้ำมันและไขมัน

บทคัดย่อ

          การพัฒนางานประจำเป็นงานวิจัย (Routine to Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบน้ำมันและไขมันในน้ำด้วยวิธีวิธีการสกัดด้วยกรวยแยกและวิธีการสกัดด้วยซอกฮ์เลต ผู้วิจัยทดลองด้วยตัวอย่างน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีน้ำมันเข้มข้น 20 mg/L จำนวน 3 ซ้ำ ทดสอบน้ำมันและไขมันด้วยวิธีห้องปฏิบัติการที่ประยุกต์จากคู่มือ  Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater 22nd edition และคู่มือมาตรฐานวิธีทดสอบมลพิษทางน้ำของกรมโรงงานอุตสาหกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา พบว่า ความเข้มข้นน้ำมันในตัวอย่างน้ำเสียสังเคราะห์ระหว่างวิธีการสกัดด้วยซอกฮ์เลตกับการสกัดด้วยกรวยแยกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.00±0.01 mg/L และ 13.73±0.92 mg/L ตามลำดับ วิธีการสกัดน้ำมันและไขมันละลายน้ำด้วยซอกฮ์เลตให้ผลการทดสอบที่ดีกว่าวิธีสกัดด้วยกรวยแยกในด้านคุณภาพและความแม่นยำ ได้แก่ ค่า Relative Difference ไม่เกิน 10% และ ค่า %recovery อยู่ในช่วง 80-120% จึงควรพิจารณาเลือกใช้วิธีการสกัดน้ำมันและไขมันละลายน้ำด้วยซอกฮ์เลตในการให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่มีน้ำมันและไขมันปนเปื้อนต่อไป

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2559). มาตรฐานวิธีทดสอบมลพิษทางน้ำ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ดวงกมล เรือนงาม. (2557). การสกัดสารตานอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตรลาดกระบัง, 23(2), 120-139.

มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์. (2551). คู่มือวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (พิมพ์ครั้งที่ 5). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพจน์ โพธาเจริญ. (2554). การวิเคราะห์สมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันผสมดีเซลและมะเยาหินในรูปอิมัลชันเป็นเชื้อเพลิง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

สุภาพร แสงศรีจันทร์. (2561, 18 พฤษภาคม). การสกัด (Extraction). สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. https://chemistry.mju.ac.th/goverment/25610518095245_chemistry/Doc_25620922185510_775945.pdf

ศิริวัลย์ สร้อยกล่อม. (2564, 21 ธันวาคม). การสกัดสารสำคัญจากสมุนไพร : เทคนิคสกัดสารด้วยซอกฮ์เลต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.rdi.ku.ac.th/cl/knowledge/2564/dec2021/soxhlet_extraction.

APHA. (2012). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater (22nded.). American Public Health Association.

Do, Q. D., Angkawijaya, A. E., Tran-Nguyen, P. L., Huynh, L. H., Soetaredjo, F. E., Ismadji, S. & Ju, Y. H. (2013). Effect of extraction solvent on total phenol content, total flavonoid content, and antioxidant activity of Limnophila aromatica. Journal of Food and Drug Analysis, 22(3), 296-302.

Honeywell, Burdick & Jackson Laboratories Inc.. (1966). Solvent Extraction of Organic Analytes. Analytical Chemistry, 38(5), 661-667.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย