เส้นทางการบริการการแพทย์วิถีใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.4คำสำคัญ:
บริการการแพทย์วิถีใหม่, บริการแพทย์ทางไกล, ระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัล, ระบบนิเวศการดูแลสุขภาพบทคัดย่อ
กว่าสามทศวรรษที่ประเทศไทยนำแนวคิดการบริการแพทย์ทางไกลมาใช้ จนปัจจุบันเกิดสิทธิประโยชน์ของสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่าบริการการแพทย์วิถีใหม่ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เพื่อศึกษารูปแบบของระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัล และเพื่อติดตาม ผลการให้บริการการแพทย์วิถีใหม่ รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงปริมาณ
ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัลประกอบด้วย 1) ระบบนิเวศการดูแลสุขภาพ 2) เครือข่ายด้านดิจิทัลเพื่อการดูแลรักษาทางการแพทย์ และ 3) การจัดสิทธิประโยชน์ด้านบริการการแพทย์วิถีใหม่ ซึ่งระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัลทำให้เกิดบริการการแพทย์ทางไกลเป็นพรมแดนใหม่สำหรับบริการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ขยายศักยภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แบบสหสาขา สำหรับผลการให้บริการการแพทย์วิถีใหม่ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. 2564 ได้แก่ การบริการแพทย์ทางไกล การส่งยาทางไปรษณีย์และร้านยา การส่งตรวจห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล เป็นต้น พบว่า ปีงบประมาณ 2564 มีผู้ป่วยจำนวน 49,195 คน รับบริการ 77,431 ครั้ง งบประมาณ 2.32 ล้านบาท และ 5 อันดับโรคที่เข้ามารักษาสูงสุดคือ Essential (Primary) Hypertension, Non-insulin-dependent diabetes mellitus; without complication, Childhood autism, Disturbance of activity and attention และ Paranoid schizophrenia; Continuous ส่วนการให้บริการส่งตรวจห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล มีผู้ป่วยจำนวน 23,161 คน รับบริการ 28,057 ครั้ง งบประมาณที่ใช้ 2.24 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยจำนวน 43,615 คน รับบริการ 106,059 ครั้ง งบประมาณ 3.18 ล้านบาท และ 5 อันดับโรคที่เข้ามารักษาสูงสุดคือ Essential (Primary) Hypertension, Non-insulin-dependent diabetes mellitus; without complication, Paranoid schizophrenia; Continuous, Paranoid schizophrenia; Episodic remittent และ Childhood autism ส่วนการให้บริการส่งตรวจห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล มีผู้ป่วยจำนวน 40,993 คน รับบริการ 60,786 ครั้ง งบประมาณที่ใช้ 4.86 ล้านบาท
สรุปว่าเส้นทางการบริการการแพทย์วิถีใหม่ของประเทศไทยได้เริ่มขึ้นแล้ว การวางรากฐานโครงสร้างข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมกำกับผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีคุณภาพ และแม่นยำถูกต้อง เป็นเรื่องท้าทายต่อระบบนิเวศสุขภาพดิจิทัล
References
ศิริรัตน์ วงศ์ประกรณ์กุล. (2563). ยุคใหม่ของการดูแลสุขภาพด้วยระบบนิเวศทางธุรกิจและเทเลเฮลธ์ (New Era of Healthcare through Business Ecosystem and Telehealth). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(2), 1-15. http://doi.org/10.14456/jmu.2020.15
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2563, 15 พฤษภาคม). สธ.เดินหน้าการแพทย์วิถีใหม่ New Normal of Medical Service ขยายทั่วประเทศ. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ.https://www.hfocus.org/content/2020/05/19337
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2563). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2564. สหมิตร.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2565. สหมิตร.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขปีงบประมาณ 2566. สหมิตร.
Cancela, J., Charlafti, I, Collouf, S., & Wu, C. (2021). Digital Health in the Era of Personalized Healthcare: Opportunities and Challenges for Bringing Research and Patient Care to a New Level. (pp. 7-31). Elsevier.https://doi.org/10.1016/B978-0-12-820077-3.00002-X
Dymek, C. (Ed.D.). (2023, September). Digital Healthcare Research: Informing Improvement in Care Quality, Safety, and Efficiency. Agency for Healthcare Research and Quality. https://digital.ahrq.gov/program-overview/directors-corner
Friesdorf, M., Deetjen, U., Sawant, A., Gilbert, G., and Niedermann, F. (2019, 2 August). Digital health ecosystems: A payer perspective. McKinsey & Company. https://www.mckinsey.com/industries/healthcare/our-insights/digital-health-ecosystems-a-payer-perspective
Insider Intelligence. (2022, 2 February). The Digital Health Ecosystem 2022: How COVID changed the US healthcare system. EMARKETER. https://www.insiderintelligence.com/insights/digital-health-ecosystem
Lumi. (2559). Digital Health การแพทย์บนโลกดิจิทัลกับการดูแลสุขภาพยุคใหม่. iMoD. https://www.iphonemod.net/digital-health.html
Moore, J. F. (1993). Predators and Prey: A New Ecology of Competition. Harvard business review, May-June, 75-86. https://hbr.org/1993/05/predators-and-prey-a-new-ecology-of-competition
Moore, J. F. (1996, January). The Death of Competition: Leadership & Strategy in the Age of Business Ecosystem. Harper Business. ResearchGate, p. 1-133https://www.researchgate.net/publication/31744644_The_Death_of_
Competition_Leadership_and_Strategy_in_the_Age_of_Business_Ecosystems_JF_Moore
Serbanati, D. L., Ricci L. F., Mercurio, G., and Vasilateanu, A. (2011). Steps Towards a Digital Health Ecosystem. Journal of Biomedical Informatics, 44, 621-636.
Scalvini, S., Vitacca, M., Paletta, L., Giordano, A., and Balbi, B. (2004). Telemedicine: A new frontier for effective healthcare services. Monaldi Arch Chest Dis, 61(4), 226-233.
Talking HealthTech. (2021, 3 March). Healthcare Ecosystem. Talking HealthTech.https://www.talkinghealthtech.com/glossary/healthcare-ecosystem
U.S. Food and Drug Administration (FDA). (2020, 22 September). What is Digital Health?. FDA.https://www.fda.gov/medical-devices/digital-health-center-excellence/what-digital-health
WHO Thailand. (2020, 11 August). Thailand Launches “New Normal” Healthcare System to Build Back Better After COVID-19. World Health Organization.https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/thailand-launches-new-normal-healthcare-system-to-build-back-better-after-covid-19
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.