องค์กรแห่งความสุขของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.11บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง องค์กรแห่งความสุขของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อวัดระดับความสุขในการทำงานและความผูกพันที่มีต่อองค์กรของบุคลากร รวมถึงความสุขในชีวิตและครอบครัวของบุคลากร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานภายในองค์กร
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทั้งหมด ที่ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.88 เป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาแบบบรรยายลักษณะตัวแปรต่างๆ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ความสุขในการทำงานภายในองค์กรของบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.68, S.D.=0.30) และผลการศึกษาความผูกพันที่มีต่อองค์กร พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.83, S.D. =0.51)
References
กิติพัฒน์ ดามาพงษ์. (2559). ความสุข ความพึงพอใจ ต่อความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์ และ จันทร์ธิรา สมตัว. (2557, 1 กันยายน). การสำรวจสุขภาวะบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 6 ปีงบประมาณ 2556. บริหารยุทธศาสตร์และการวิจัย ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2560004401.pdf
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2557). ก้าวไปสู่องค์กรสุขภาวะก้าวไปเป็น Happy Workplace. (พิมพ์ครั้งที่ 2). แอทโฟร์พริ้นท์.
ชาโลมา กองสวัสดิ์. (2563). ความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(3), 83-96.
ธิฎิรัชต์ เมฆบัณฑิตกุล. (2562). การใช้ประโยชน์จากผลการประเมิน (Happinometer) เพื่อการจัดทำแผนการสร้างสุขในองค์กร. [เอกสารไม่ได้ ตีพิมพ์]. ศูนย์บริการวิจัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. http://203.157.184.6/bookalakorn/file upload/127Happinometer%20analyst.pdf
เปมิกา สังข์ขรณ์, วัลลยา ธรรมอภิบาล, และ นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(1), 132-143.
ปรีชา วิยาภรณ์. (2559). กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564, 19 ธันวาคม). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://happy8workplace.thaihealth.or.th/books-videos/books/57
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 36-43.
พีระศิลป์ รัตน์หิรัญกร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ, และ วรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ธรรมดาเพรส. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/16f2015051111035491.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (2562). (2561, 1 กันยายน). ผลการสำรวจความสุขคนทำงาน (ในองค์กร) พ.ศ. 2561. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/upload_file_pdf/2023/20230505230846_42914.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560, 29 ธันวาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สุธิสา อินทนุพัฒน์, ประเสริฐ เก็มประโคน, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์, และ ศุภาพร โนนชนะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความอยู่ดีมีสุขและความผูกพันของบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 4(2), 15-25.
อลิษา สุขปิติ. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
อุเทน หินอ่อน. (2563). คุณภาพชีวิต ความสุขและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. วารสารวิชาการ ปขมท., 9(3), 196-205.
อนุพงศ์ รอดบุญปาน. (2561). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนอนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว) [การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.