สถานการณ์การดำเนินงานและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม: กรณีศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ ทิววัฒน์ปกรณ์ งานกายภาพบัด โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ชาทัส สวัสดิกุล งานภายภาพบำบัด โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • กนกชล พูนธีรากร ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
  • ทวีศักดิ์ วงศ์กีรติเมธาวี งานภายภาพบำบัด โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • สินีนาฎ สุขอุบล งานภายภาพบำบัด โรงพยาบาลหาดใหญ่ ประเทศไทย
  • จิรวัฒน์ วัฒนปัญญาเวชช์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิตยา ทองขจร งานภายภาพบำบัด โรงพยาบาลหาดใหญ่

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.26

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ, ความต้องการของผู้สูงอายุ, การหกล้ม, ชุมชน

บทคัดย่อ

          ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย ซึ่งคาดว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และพบว่าการหกล้มเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้สูงอายุเพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันการหกล้มในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ในอาสาสมัครจำนวน 79 คน เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่าการคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้มยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ อีกทั้งยังไม่มีการส่งเสริมหรือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน สำหรับความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงด้านการคัดกรองต่อการหกล้ม การส่งเสริมในการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักต่อการเสี่ยงหกล้ม รวมทั้งการสร้างแกนนำชุมชนในการดูแล ส่งเสริม และป้องกันการหกล้ม ดังนั้น การมีส่วนร่วมทั้งทีมสุขภาพและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ญาติ และผู้ดูแล เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการหกล้ม ส่งเสริมสมรรถนะในการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้ม พร้อมทั้งการให้คำแนะนำด้านที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการหกล้มทั้งที่บ้านและในชุมชนถือว่าเป็นบทบาทสำคัญ

References

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วิรดา อรรถเมธากุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์ และ อรัญญา นามวงศ์. (2563). สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 581–95.

เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. (2561). ตำราเวชศาสตร์ ผู้สูงวัย. รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1877).

เพ็ญพักตร์ หนูผุด, ดุสิต พรหมอ่อน, สมเกียรติยศ วรเดช และปุณพัฒน์ ไชยเมล์. (2563). ความชุกของภาวะเสี่ยงล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเสี่ยงล้มในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(1), 125–37.

รัฎภัทร์ บุญมาทอง. (2563). การป้องกันการหกล้มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน : บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 106–15.

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลหาดใหญ่. (2564). รายงานสถิติกายภาพบำบัด ประจำปีงบประมาณ 2561-2563 [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงพยาบาลหาดใหญ่.

ทวีศักดิ์ วงศ์กีรติเมธาวี, ซอฟียะห์ นิมะ, จิรวัฒน์ ทิววัฒน์ปกรณ์, และ สินีนาฎ สุขอุบล. (2566). อุบัติการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุและการป้องกันด้วยการออกกำลังกาย ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 17(3), 952–65.

ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 122–29.

ลัดดา เถียมวงศ์ และ เรวดี เพชรศิราสัณห์. (2552). ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา. วารสารสภาการพยาบาล, 24(1), 77–87.

วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. (2561). การล้มในผู้สูงอายุ. ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงวัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗).

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. (2565). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. สินทวีการพิมพ์.

สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา สำนักงานสถิติแห่งชาติ . (2563). รายงานสถิติจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2563 กองสถิติพยากรณ์,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, ชัยยศ คุณานุสนธิ์, วิพุธ พูลเจริญ และไพบูลย์ วงศ์ไพศาล. (2542). ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

อารี ปรมัตถากร. (2553). การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. ศูนย์ศึกษาวิจัยและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. ศูนย์อนามัยที่ 5.

Buhr, G., Carrissa, D., Jan, D., Elissa, N., Lynn, B., & Loretta, M., (2019). Geriatric resource teams: equipping primary care practices to meet the complex care needs of older adults. Geriatrics, 4(4), 59. https://doi.org/10.3390/geriatrics4040059

Carter, N., Denise, B.L., Alba, D., Jennifer, B., & Alan, J.N. (2014). The use of triangulation in qualitative research. Oncology Nursing Forum, 41(5), 545-47.

Luukinen H., Koski K., Laippala P. & Kivela S. L. (1995). Risk factors for recurrent falls in the elderly in long-term institutional care. Public Health, 109(1), 57–65.

Muangpaisan W. (2017). Gerontology and geriatrics for primary care practice. 1st Ed. Parbpim design and printing.

Cameron, A. M., & Teresa, M. (1997). Case-control study of exposure to medication and the risk of injurious falls requiring hospitalization among nursing home residents. American Journal of Epidemiology, 145(8), 738–45.

United Nations. (2017). World population ageing. (Retrieved 2023, May 26) United Nations. https://www.un.org/Esa/Population/Publications/WPA2009/WPA2009%20WorkingPaper.PDF.

World Health Organization. (2008). WHO Global Report on falls prevention in older age. World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย