การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชัย จันทะแสง สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.12

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร, สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กร และความผูกพันต่อองค์กร และ 2) เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างวัฒนธรรมองค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 210 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับการวิจัยออนไลน์ด้วย Google Form และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่า วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ .811 โดยภาพรวมนั้นชุดตัวแปรวัฒนธรรมองค์กรสามารถอธิบายร่วมกับชุดตัวแปรความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 69.90 และ 2) ชุดตัวแปรวัฒนธรรมองค์กรมีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |.562| - |.723| โดยมีวัฒนธรรมองค์กรแบบมีส่วนร่วมสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรแบบกลมกลืน วัฒนธรรมองค์กรแบบปรับตัว และวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งเน้นพันธกิจ ตามลำดับ และชุดตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีค่าน้ำหนักคาโนนิคอลระหว่าง |.701| - |.744| โดยมีความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึกสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กรด้านความต่อเนื่อง และความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน ตามลำดับ

          ดังนั้นองค์กรสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร

References

กัญญา รอดพิทักษ์. (2551). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารออมสินฝ่ายกิจการนครหลวง 3 เขตศิริ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี]

ชฎาภรณ์ เพียยุระ, สามารถ อัยการ, และ ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรม องค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 75-96.

ธัญญารัตน์ ดอกลั่นทม, กัลย์ ปิ่นเกษร, และ ภาวิน ชินะโชติ. (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 329-342.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2562). แนวทางการพัฒนาความผูกพันของพนักงานในองค์กร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 493-504.

ปุญชรัสมิ์ ตุงคง และ ถิตรัตน์ พิมาพาภรณ์ (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กร และ แรงจูงใจในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 130-147.

มนันยา แก้วมงคล, ชาติชัย อุดมกิจมงคล, และ สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของ บุคลากร องค์กรบริหารส่วน จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 15(71), 107-118.

มณฑิตา ศรีนคร. (2563). ผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันยึดมั่นในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 15(1), 120-133.

ยงยุทธ รักษาพล, สุมาลี รามนัฏ, และ ธัญนันท์ บุญอยู่. (2565). ความผูกพันในองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมองค์กรและการบริการทรัพยากรมนุษย์สู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานใน บริษัทอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กแห่งหนึ่งในจังหวัระยอง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์, 8(1), 31-46.

แหวนเพชร ไชยะวง และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2563). วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์รัฐในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 8(1), 127-139.

อัจฉรา ภาณุศานต์ และ อัควรรณ์ แสงวิภาค (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันนิคมอุตสาหกรรมแหลม-ฉบัง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 42(1), 132-149.

อนิวัช แก้วจํานงค์. (2557). หลักการจัดการ. นําศิลป์โฆษณา.

Allen, N. & Meyer, J. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance, and normative commitment to the organization. The Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.

Aranki, D. H., Suifan, T. S., & Sweis, R. J. (2019). The relationship between organizational culture and organizational commitment. Modern Applied Science, 13(4), 137-154.

Armstrong, M., & Taylor, S. (2020). Armstrong's handbook of human resource management practice. Kogan Page.

Cheanchana, C. (2015). Using multivariate statistics for research: Designing, analyzing, and interpreting. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Cooper, D. R., Schindler, P. S., & Sun, J. (2006). Business research methods (9th Ed.). McGraw-hill.

Denison, D. R., Haaland, S., & Goelzer, P. (2004). Corporate culture and organizational effectiveness: Is Asia different from the rest of the world?. Organizational Dynamics, 33(1), 98-109. https://doi.org/10.1016/j.orgdyn.2003.11.008

Hofstede, G. H. (1997). Culture and Organizations: Software of the Mind. McGraw Hill.

Jufrizen, J., Mukmin, M., Nurmala, D., & Jasin, H. (2021). Effect of Moderation of Work Motivation on the Influence of Organizational Culture On Organizational Commitment and Employee Performance. International Journal of Business Economics (IJBE), 2(2), 86-98.

Kawiana, I. G. P., Dewi, L. K. C., Martini, L. K. B., & Suardana, I. B. R. (2018). The influence of organizational culture, employee satisfaction, personality, and organizational commitment towards employee performance. International research journal of management, IT and social sciences, 5(3), 35-45.

Mowday, R. T., Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). The measurement of organizational commitment. Journal of vocational behavior, 14(2), 224-247.

Noori, N., & Sargolzaei, A. (2017). Studding the relationship between quality of work life and organizational citizenship behavior among justice employees in Zahedan. World Journal of Environmental Biosciences, 6, 21-26.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). McGraw-Hill.

Rovinelli, R., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. ERIC.

Sarhan, N., Harb, A., Shrafat, F., & Alhusban, M. (2020). The effect of organizational culture on the organizational commitment: Evidence from hotel industry. Management Science Letters, 10(1), 183-196.

Stevens, J. (1986). Applied multivariate statistics for the social science. Erlbaum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย