การพัฒนาระบบแจ้งเตือนกิจกรรมและการนัดหมายอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยประยุกต์ใช้ Google Application และ Line Notification

ผู้แต่ง

  • ถนอม กองใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อริษา ทาทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.14

คำสำคัญ:

แจ้งเตือนอัตโนมัติ, การนัดหมาย, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนกิจกรรมและการนัดหมายอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยประยุกต์ใช้โปรแกรม Google Application และ Line Notification และศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้งาน คือ บุคลากรสังกัดภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สายวิชาการและสายปฏิบัติการรวมทั้งหมด 36 คน ผลการวิจัย พบว่า ระบบที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ สามารถส่งการแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังผู้ใช้งาน ผ่านแอปพลิเคชันไลน์บนโทรศัพท์มือถือเมื่อถึงเวลาที่นัดหมายไว้ได้อย่างถูกต้อง สะดวกต่อการใช้งาน สามารถส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งานได้รวดเร็ว มีการแจ้งสรุปรายการกิจกรรมหรือการนัดหมายในแต่ละวันให้รับทราบล่วงหน้า ซึ่งช่วยเตือนความจำและทำให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้มากขึ้น ในส่วนของข้อมูลกิจกรรมที่บันทึกไว้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดกิจกรรมล่วงหน้า และสร้างรายงานสรุปกิจกรรมในแต่ปี เพื่อแสดงผลการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดตามพันธกิจของหน่วยงานที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ผลการศึกษาความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบมีรายละเอียด ดังนี้ ความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพการแจ้งเตือนในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.84, S.D = 0.37) ด้านความครบถ้วนของข้อมูลที่ส่งแจ้งเตือนในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.40, S.D = 0.71) ด้านความสะดวกในการใช้งานระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.72, S.D = 0.46) ด้านความถูกต้องของข้อมูลในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.68, S.D = 0.56) ด้านความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.76, S.D = 0.44) และผลคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.68, S.D = 0.50)
          ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ งานวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์และพัฒนาใช้กับการแจ้งเตือนในงานด้านอื่น ๆ ได้ เช่น ใช้กับระบบแจ้งเตือนการจองรถยนต์ ระแบบแจ้งเตือนกำหนดวันคุมสอบ ระบบแจ้งเตือนกำหนดการส่งของเบิกของ ระบบแจ้งเตือนการส่งเอกสารเงินเดือน หรือระบบจองห้องเรียนออนไลน์ เป็นต้น ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรพัฒนาเพิ่มการแจ้งเตือนในช่องทางอื่น เช่น การแจ้งเตือนผ่านทางเฟซบุ๊ก ทางข้อความสั้น (SMS) ทางอีเมล หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ เพื่อให้ระบบมีความหลากหลายในการใช้งาน และเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

References

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 1(2), 75 – 88.

จรรยา ชื่นอารมณ์. (2562). การพัฒนาระบบจองเวลาใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันต-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 70 – 79.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัตน์ พูลเขตนคร, ธนวัตน์ เจริญษา และคณะ. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(6), 478 – 494.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิชญา สกุลวิทย์, อังคณา อ่อนธานี, และจักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2564). การออกแบบการสื่อสารในรูปแบบวิถีใหม่. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร, 12(3), 127 – 138.

รัฐลักษณ์ พิทักษ์จักรพิภพ. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพช่องทางการสื่อสารของกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565, จาก http://opdcddc.org/document/docum ent/journal-opdc/Communication_Channel_(OPDC).pdf.

ละเอียด ศิลาน้อย และกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2561). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรมและการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112 - 126.

วราพร ดำจับ. (2560). การสื่อสารยุคดิจิทัล. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 3(1), 46 – 50.

ศักรินทร์ ตันสุพงษ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นไลน์. (การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1260/1/sakarin.tans.pdf.

สมยศ โกรัมย์. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพระบบติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าวิชาโครงงาน ด้วยกลไกการแจ้งเตือน กรณีศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่. (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/17313/1/5910121058.pdf.

สมิธ พิทูรพงศ์. (2560) การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน: กรณีศึกษาบริษัท สหผลิตภัณฑ์ พาณิชย์ จำกัด. (การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิตอล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3440/3/smith.pito.pdf.

สามารถ อัยกร. (2558). โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ. Journal of Nakhonratchasima College, 9(1), 102 – 107.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม. (2563). สรุปผลที่สำคัญ สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2563/Pocketbook63.pdf.

โสพิชญ์ สุขเจริญ. (2561). โปรแกรมส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย Google Calendar ให้กับเจ้าหน้าที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565, จาก http://www.eresearch.ssru.ac.th/bitstream/123456789/1528/1/งานวิจัย%20โสพิชญ์.pdf.

อุทุมพร มณีวรรณ์, มลฑาทิพย์ ทาษรักษา และ เอกสิทธิ์ ปัญญามี. (2563) การพัฒนาระบบแจ้งเตือนวันกำหนดส่งคืนหนังสืออัตโนมัติผ่านไลน์แอปพลิเคชัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565, จาก https://pulinet2021.pulinet.org/uploads_file_completely/2020-12-29/stefany-IS.pdf

อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2563). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาขั้นตอนวิธีและการเขียนโปรแกรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 12 – 26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย