ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลในมุมมองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ พระเนตร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.36

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, วิทยาลัยนานาชาติ, มุมมอง

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC) และเปรียบเทียบทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล  จำแนกตามเพศ หลักสูตรของโรงเรียนที่กำลังศึกษา และหลักสูตรที่ต้องการศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Independent Sampling t-test และ One-way ANOVA

         ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิง (ร้อยละ 72.68) นักเรียนส่วนใหญ่ศึกษาในหลักสูตรไทย (ร้อยละ 52.44) และสนใจเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยนานาชาติในหลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) มากที่สุด (ร้อยละ 17.32) ในส่วนของภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ ในภาพรวมจัดอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักเรียนมีทัศนะเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติในระดับดีมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.65)  รองลงมาคือด้านชื่อเสียง/การยอมรับ (ค่าเฉลี่ย= 4.63)  และด้านบรรยากาศ (ค่าเฉลี่ย = 4.62) ผลเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติตามทัศนะของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีต่อภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ จำแนกตามเพศ หลักสูตรการศึกษาที่เรียน และหลักสูตรที่สนใจเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยนานาชาติ ไม่แตกต่างกัน

         สรุปได้ว่าภาพลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติอยู่ในระดับดีมาก ดังนั้นการรักษาภาพลักษณ์ให้คงอยู่และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อทำให้นักเรียน ผู้ปกครอง หรือ บุคคลภายนอกเชื่อมั่นในวิทยาลัยนานาชาติ และเลือกวิทยาลัยนานาชาติเป็นสถาบันแรกที่เข้ารับการศึกษาต่อ อีกทั้งผลการศึกษานี้ สามารถนำข้อมูลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด

References

เกษศิรินทร์ มั่งมี. (2556). การศึกษาภาพลักษณ์ของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

ดวงพร คำนูญวัฒน์ และ วาสนา จันทร์สว่าง. (2536). สื่อสารการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อินไทม์เทรด.

ตราจิตต์ เมืองคล้าย. (2556). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาตามทัศนะของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา].

นิติยา ศรีพูล. (2556). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาตามทัศนะของประชาชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

นลินี พานสายตา. (2555). การรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพบัณฑิต หลักสูตรและการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

พัชราภรณ์ เกษะประกร. (2550). การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร. (2537). ความรู้เกี่ยวกับประชาสัมพันธ์. ใน พรทิพย์พิมลสินธุ์ (บรรณาธิการ). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง:การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ. คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รำไพ เลี้ยงจันทร์. (2541). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ตามทัศนะของครูและนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 6 ในเขตการศึกษา 12. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา].

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2540). การประชาสัมพันธ์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภาพิชญ์ ปังกระโทก. (2559). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา].

สุภาณี ปัสสา. (2558). การรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ของชาวต่างชาติ. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การประชาสัมพันธ์: ทฤษฎีเชิงปฏิบัติ. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2564, 21 พฤศจิกายน). การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการ วมว. ปีการศึกษา 2565. http://opec.go.th

หยาดพิรุณ ศุภรากรสกุล. (2554). การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์และมหาวิทยาลัย อื่นในพื้นที่ใกล้เคียงในทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อรอุมา ไชยเศรษฐ. (2551). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยพายัพในทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย