ผลของการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุพัตรา ยอดปัญญา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วารินทร์ กลิ่นนาค คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เดชา ชุมภูอินทร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2024.5

คำสำคัญ:

การดูแลระยะสุดท้าย, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, คุณภาพชีวิต, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มารับบริการฟอกเลือดที่งานไตเทียม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน จำนวน 26 ราย โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ 2. ข้อมูลคุณภาพชีวิต 3. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการดูแลแบบประคับประคอง และ 4. ความพึงพอใจของญาติต่อการดูแลแบบประคับประคอง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ การทดสอบ t-test, ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
          ผลการศึกษาพบว่า การประเมินระดับคุณภาพชีวิต และความพึงพอใจของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อการดูแลแบบประคับประคองหลังการเสริมโปรแกรม การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในภาพรวมและรายข้อมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองส่งผลต่ออาการทางร่างกายของผู้ป่วย โดยพบว่าผู้ป่วยมีความจำที่ดีขึ้นและเปิดใจยอมรับความเจ็บป่วยได้มากขึ้น ไม่มีอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ ผลจากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการยังพบว่าผู้ป่วยมีระดับอัลบูมินในเลือดดีขึ้นร่วมกับระดับฟอสฟอรัสในเลือดอยู่ในเกณฑ์มากขึ้น ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นมีการควบคุมอาหารและรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อภาวะโรคไตได้ดีขึ้น ผลจากการศึกษายังพบว่าผู้ป่วยและญาติมีทัศนคติเชิงบวกและเข้าใจในตัวโรค ตลอดจนมีการเตรียมความพร้อมในระยะสุดท้ายของชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยประเมินจากผู้ป่วยทุกรายให้การยินยอมในการเตรียมพินัยกรรมชีวิตในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะ หลังจากการเข้าร่วมการเสริมโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

References

กรมการแพทย์ กะทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กระทรวงสาธารณสุข.

จำรัส สาระขวัญ, สุนทรี สิทธิสงคราม, มาลินี บุญเกิด, สุกัญญา กระเบียด และ มาลี มีแป้น. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(2), 153-164

จุฑามาศ เทียนสอาด, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม และนพวรรณ พินิจขจรเดช. (2560). การรับรู้ภาระจากอาการ ภาระค่าใช้จ่ายกับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(1), 60-77

ชัชวาล วงค์สารี และ เรณู อาจสาลี. (2559). ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(6), 132-44

ชุติมา เขตอนันต์. (2550). การพยาบาลผู้ป่วย Chronic hemodialysis. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล

ทรงเดช ประเสริฐศรี. (2558). การศึกษาปัจจัยสนับสนุน ความรุนแรงของการเกิดภาวะโซเดียมต่ำในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(1), 108-114.

บันลือศักดิ์ ธรรมนิตยางกูร, นันทรัตน์ ธรรมนิตยางกูร, สุมลรัตน์ กนกวินวงศ์, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล, สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล และ อัครินทร์ นิมมานนิตย์ (2556). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อความอ่อนล้าและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารศิริราช, 3(1),15-24

ประเสริฐ ธนกิจจาร และ สุพัฒน์ วาณิชย์การ. (2551). การใช้ระบบ Sodium Variation ระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ใน ประเสริฐ ธน-กิจจาร และ สุพัฒน์ วาณิชย์การ (บ.ก.) ตำราฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 205-215). กรุงเทพเวชสาร

ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์. (2559). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศไทย. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 26(3) 40-51

ศิริเพ็ญ ชั้นประเสริฐ, ทัศนีย์ เชื่อมทอง, และ สุปรานี ศรีพลาวงษ์. (2559). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคองกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(4), 326-339.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมการลงทะเบียนลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไต. (2563, 1 มิถุนายน). ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ.2563. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557) . แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต พ.ศ.2557-2559 (พิมพ์ครั้งที่ 3). สามดีพริ้นติ้งอีควิปเม้นท์

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2558). คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข: กฎหมาย และแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย (พิมพ์ครั้งที่ 9). สามดีพริ้นติ้งอีควิปเม้นท์

โสภณ เมฆธน. (2560, 7 สิงหาคม). การจัดการโรคไตเรื้อรังนำสู่การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2017/08/14351

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K; & the Thai-SEEK Group. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 25: 1567-75.

Kitjabucha, P. (2009). Health Promoting Behaviors of Persons with HIV/AIDS. [Thesis of Master of Nursing Science in Nursing Management. Graduate School of Rangsit University]

World Health Organization. (2002). National cancer control programmes: policies and managerial guidelines. World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย