ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2024.15คำสำคัญ:
แผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์, ระยะเวลาที่นอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตบทคัดย่อ
แผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์เป็นแผลกดทับที่มีโอกาสพบได้ในหอผู้ป่วยวิกฤตซึ่งสอดคล้องกับลักษณะผู้ป่วยคือมีความจำเป็นในการจำกัดการเคลื่อนไหวและการคาสายสวนเพื่อการวินิจฉัยและเพื่อการรักษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ (MDRPI) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ (MDRPI) โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563 กลุ่มตัวอย่าง 96 ราย เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติ fisher’s exact และ chi-square test อธิบายความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 96 ราย พบการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ (MDRPI) 8 ราย (ร้อยละ 8.30) จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ โดยใช้สถิติ fisher’s exact test และ chi-square test หาความสัมพันธ์ของปัจจัยพบว่า ระยะเวลาที่นอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤต ดัชนีโรคร่วมชาร์ลสัน และระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) กับการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ (p=0.000), (p=0.019) และ (p=0.006) ตามลำดับ
ผลการวิจัยนี้จะนำไปใช้ในการวางแผนให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการใส่อุปกรณ์การแพทย์ในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกต่อไป
References
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563, 1 ตุลาคม). ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล พ.ศ. 2562. กองการพยาบาล. http://www.nursing.go.th/?page_id=2489
ขวัญจิตร์ ปุ่นโพธิ์ และ จิณพิชญ์ชา มะมม. (2555). การศึกษาผลของกระบวนการดูแลแผลในการส่งเสริมการหายของแผลการลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่และความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ [เอกสารไม่ได้ ตีพิมพ์]. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนา งานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.
ประภาพร ดองโพธิ์. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(2), 315-323.
ปราณี เทพไชย, ขนิษฐา นาคะ, และ รัตใจ เวชประสิทธ์. (2561). การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของพยาบาลห้องผ่าตัด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 38-51.
พัชรินทร์ คำนวล, นิภาภรณ์ เชื้อยูนาน, และ ศิริพร เดชอุปการะกุล. (2561). ผลของแนวปฏิบัติทาง คลินิกสาหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลพะเยา. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(2), 89-101.
วาสนา ฬาวิน, พรทิพย์ อยู่ญาติมาก, และ รภัสศา แพรภัทรประสิทธิ์. (2563). ภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับใหม่ในผู้ป่วยที่รับย้ายจากหอผู้ป่วยในเข้ารักษาต่อในหอผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลศาสตร์และ สุขภาพ, 43(3), 161-171.
อรวรรณ บุตรทุมพันธ์ และ วาสนา ฬาวิน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง : การศึกษาย้อนหลังแบบจับคู่. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 140-148.
อารี บูรณกุล. (2545). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].
Barbara, A. D., & Elizabeth, A. A. (2017). Pressure injuries caused by medical devices and other objects: A clinical update. American Journal of nursing, 117(12), 36-45.
Black, J., Cuddigan, J., Walko, M., Didier, L., Lander, M., & Kelpe, M. (2010). Medical device related pressure ulcers in hospitalized patients. International Wound Journal, 7(5), 358-365.
Black, J. M., & Kalowes, P. (2016). Medical device-related pressure ulcers. Chronic wound care management and research, 3, 91-99.
Coyer, F.M., Stotts, N.A., & Blackman, V.R. (2014). A prospective window into medical device related pressure ulcers in intensive care. International Wound Journal, 11(6), 656–664.
Debra, J., Ahmed, M. S., Ria, B., & Joanne, B. (2019). Medical device related pressure ulcers: A systematic review and meta-analysis. International Journal of Nursing Studies, 92, 109-120.
Galetto, S. G. S., Nascimento, E. R. P., Hermida, P. M. V., Busanello, J., Malfussi, L. B. H., & Lazzari, D. D. (2021). Medical device-related pressure injuries in critical patients: prevalence and associated factors. Revista Da Escola De Enfermagem Journal of school of nursing university of Sao Paulo, 55:e20200397, 1-9.
Matozinhos, F.P., Melendez GV, Tiensoli, S.D., Moreira, A.D., & Gomes, F.S.L. (2017). Factors associated with the incidence of pressure ulcer during hospital stay. Revista Da Escola De Enfermagem Journal of school of nursing university of Sao Paulo, 51:e03223, 1-7. http://dx.doi.org/10.1590/S1980-220X2016015803223
Nonnemacher, M., Stausberg, J., Bartoszek, G., Lottko, B., Neuhaeuser, M., & Maier, I. (2009). Predicting pressure ulcer risk: a multifactorial approach to assess risk factors in a large university hospital population. Journal of Clinical Nursing, 18 (1), 99-107.
Schallom, M., Cracchiolo, L., Falker, A., Foster, J., Hager, J., Morehouse, T., Watts P, Weems L., & Kollef, M. (2015). Pressure Ulcer Incidence in Patients Wearing Nasal-Oral Versus Full-Face Noninvasive Ventilation Masks. American Journal of critical care, 24(4), 358-359.
Shirley, A., Beth, A. S., & Louis, F. (2014). Reducing nasal pressure ulcers with an alternative taping device. Medsurg nursing, 23(2), 96-100.
Susan, A. K., Catherine, V., Elizabeth, A. A, & Charlie, A. L. (2018). Prevalence and analysis of medical device-related pressure injuries: results from the international pressure ulcers prevalence survey. Advances in skin & wound care, 31(6), 276-285.
Vetrano, D. L., Landi, F., Buyser, S. L., Carfì, A., Zuccala, G., Petrovic, M., Volpato, S., Cherubini, A., & Corsonello, A. (2014). Predictors of length of hospital stay among older adults admitted to acute care wards: a multi-centre observational study. European Journal Internal Medicine, 25(1), 56–62.
Zhang, Z., Yang, H. & Luo, M. (2021). Association between Charlson comorbidity index and community-acquired pressure injury in older acute inpatients in a Chinese tertiary hospital. Clinical Interventions in Aging, 16, 1987–1995.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.