การศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลที่มีต่อการใช้แนวทางการป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยโดยกำหนดตัวส่งสัญญาณแต่เนิ่น ๆ ในโรงพยาบาลศิริราช

ผู้แต่ง

  • เอกกนก พนาดำรง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิจิตรา นุชอยู่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กาญจนา รุ่งแสงจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.39

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, แนวทางป้องกัน SiCTT by MEWS

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลที่มีต่อการใช้ Siriraj Concurrent Trigger Tool by Modified Early Warning Signs (SiCTT by MEWS) เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศิริราช อายุงานมากกว่า 3 ปี จำนวน 465 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และ การทดสอบค่าที

           ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 96.5) อายุเฉลี่ย 36.079.094 ปี (พิสัย 22-59 ปี) อายุงานเฉลี่ย 13.499.109 ปี (พิสัย 3-48 ปี) หน่วยงานที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุดคือ งานการพยาบาลอายุรศาสตร์ฯ (ร้อยละ 30.8) เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการมากที่สุด (ร้อยละ 46.8) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 80.5) ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แนวปฏิบัติ (ร้อยละ 93.8) ระยะเวลาในการใช้แนวปฏิบัติอยู่ระหว่าง 1-120 เดือน (เฉลี่ย 30.7016.65 เดือน) จำนวนแนวปฏิบัติที่ใช้อยู่ระหว่าง 1-9 เรื่องต่อคน (เฉลี่ย 4.452.08 เรื่อง) แนวปฏิบัติ SiCTT by MEWS ที่ใช้มากที่สุด คือ แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับ Heparin (ร้อยละ 69.5) ความคิดเห็นในการใช้ SiCTT by MEWS พบว่าระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยก่อนและหลังใช้ SiCTT by MEWS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อระดับความปลอดภัยของผู้ป่วย ระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และผู้พัฒนาแนวปฏิบัติ (ผู้มีส่วนร่วมในการสร้าง/พัฒนา และผู้ให้ข้อเสนอแนะ) ทั้งภาพรวมและรายด้าน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

           สรุปได้ว่าความคิดเห็นของพยาบาลที่ใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนา SiCTT by MEWS เห็นด้วยว่า มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยมากขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรมีการพัฒนาเรื่องกระบวนการดำเนินงาน และการสื่อสารนโยบายและความสำคัญของการใช้ SiCTT by MEWS ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยสูงสุด

References

ดวงมณี เลาหประสิทธิพร. (2560). Siriraj Concurrent Trigger Tool: จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระยะที่ 5 (2555-2558). สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560 , จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd.

ปริทรรศ ศิลปกิจ, สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ประหยัด ประภาพรหม. (2553). การศึกษาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 18, 139-48.

โยธิน แสวงดี. (2558). ประชากร การคำนวณขนาดตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่าง. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562 , จาก https://www.spu.ac.th/research/files/2015

Brennan TA, Leape LL, Laird NM, Hebert L, Localio AR, Lawthers AG, Newhouse JP, Weiler PC, Hiatt HH. (1991). Incidence of adverse events and negligence in hospitalized patients: results of Harvard Medical Practice Study I. N Engl J Med, 324, 370-6.

Cooksley T, Kitlowski E, Haji-Michael P. (2012) Effectiveness of modified early warning score in predicting outcomes in oncology patients.QJM, 105, 1083-8.

Hibbert P, Williams H. (2014). The use of a global trigger tool to inform quality and safety in Australian general practice: a pilot study. AFP, 43, 723-6.

Johnson S & Nileswar A. (2015). Effectiveness of modified early warning score (MEWS) in the outcome of in-hospital adult cardiac arrests in a tertiary hospital. QJM, 5, 4.

Kirkendall ES, Kloppenborg E, Papp J, White D, Frese C, Hacker D, Schoettker PJ, Muething S, Kotagal U. (2012). Measuring adverse events and levels of harm in pediatric inpatients with the global trigger tool. Pediatrics, 130, 1206–14.

Rocha TF, Neves JG, Viegas K. (2016). Modified early warning score: evaluation of trauma patients. REBEn, 69, 906-11.

The University of York. Impact of early warning systems on patient outcomes. [Internet]. (2014) [cited September 2014]. Available from URL: https://www.york.ac.uk/media/crd/effectiveness-matters-September-2014-earlywarningsystems.pdf.

Vincent C, Neale G, Woloshynowych M. (2001). Adverse events in British hospitals: preliminary retrospective record review. Brit Med J, 322, 517-9.

Wilson RM, Runciman WB, Gibberd RW, Harrison BT, Newby L, Hamilton JD. (1995). The quality in Australian health care study. Med J Aust, 163, 458-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย