การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ กาหลง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รุ่งนภา จีนโสภา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์วิธีการแก้ไขปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จากคำตอบในแบบสอบถามปลายเปิดที่ได้รับจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักวิชาการพัสดุ จำนวน 121 คน จาก 66 ส่วนงาน ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

          ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างงานด้านพัสดุของมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่เป็นปัญหามากที่สุด คือ วิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e- bidding รองลงมาคือวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ e-Market วิธีเฉพาะเจาะจง และวิธีการคัดเลือก ตามลำดับ โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่กล่าวมาทุกประเภทล้วนพบประเด็นปัญหาสำคัญอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำร่างขอบเขตของงาน ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

References

กระทรวงการคลัง. (2560). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กรมบัญชีกลาง.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการสังคม : แนวคิดและวิธีการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนายุทธ ไชยธงรัตน และคณะ. (2561).การวิเคราะห์องค์- ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยความสำเร็จโครงการการจัดซื้อจัดจ้างก่อสร้างภาครัฐ. วารสารวิศวกรรมศาสตรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,13(2), 131-140.

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560.(2560).ราชกิจจา-นุเบกษา, 134 (ตอนที่24ก), 13-54.

John W. Creswell. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. California: Sage Publications, Inc.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis. 2nd ed. Thousand Oaks : SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ