การศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมอัตโนมัติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ ของผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปี

ผู้แต่ง

  • ธันยมัย อินทร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เชวงศักดิ์ พัฒนผลไพบูลย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฐิตาพร ตุ๊ทราย คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พรรณี พิเดช คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เจริญพร จุลชู คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.17

คำสำคัญ:

ความสอดคล้องกันของวิธี, ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ภาวะสุขภาพ, โปรแกรมอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

          งานบริการสุขภาพชุมชน คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาโปรแกรมอัตโนมัติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีให้สอดคล้องกับจำนวนผู้รับบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมอัตโนมัติฯ นี้ ผู้วิจัยทำการกำหนดเกณฑ์สำหรับการประเมินภาวะสุขภาพในภาพรวม โดยพิจารณาจากค่าอ้างอิงสำหรับการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการตรวจร่างกายทั่วไป และทำการศึกษาประสิทธิภาพในการประเมินภาวะสุขภาพในภาพรวมของโปรแกรมอัตโนมัติฯ เปรียบเทียบกับการประเมินโดยนักเทคนิคการแพทย์ด้วยข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปี

          จากการศึกษาการประเมินภาวะสุขภาพในภาพรวมทั้งสองวิธีพบว่าผลการประเมินภาวะสุขภาพของผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีมีความสอดคล้องกันในการประเมินระหว่างสองวิธี (% total agreement) คิดเป็นร้อยละ 99.3, ค่า % positive agreement คิดเป็นร้อยละ 98.8, ค่า % negative agreement คิดเป็นร้อยละ 99.7 และโปรแกรมอัตโนมัติฯ สามารถทำนายผลการประเมิน (positive predictive value) ได้แม่นยำถึงร้อยละ 99.7 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโปรแกรมอัตโนมัติฯ ในการประเมินภาวะสุขภาพได้ผลใกล้เคียงกับการประเมินโดยนักเทคนิคการแพทย์ นอกจากนี้โปรแกรมอัตโนมัติฯ สามารถลดปริมาณงานในการประเมินภาวะสุขภาพได้เกือบร้อยละ 50 และนำไปสู่การลดระยะเวลาของกระบวนการรายงานผลตรวจสุขภาพไปยังผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี

References

พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547. (2547, 22 ตุลาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่ม121 ตอนพิเศษ 65 ก. หน้า 33-73.

ศิริรัตน์ พรหมนุช, สมลักษณ์ วนะวนานต์, นลินี คําเพราะ, ปรียานุช บําารุงผล และ พรเพ็ญ ศรีสวัสดิ์. (2562). การทวนสอบและการรายงานผลการวิเคราะห์อัตโนมัติทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์. วารสารเทคนิคการแพทย์, 2(47), 7001-7015.

สถานเวชศาสตร์ชันสูตร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). คู่มือการส่งตรวจ สถานเวชศาสตร์ชันสูตร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์ครั้งที่ 1. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://mt.mahidol.ac.th/wp-content /uploads/2023/04/O13-laboratory.pdf.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. ทริค ธิงค์.

Crolla, L. J., & Westgard, J. O. (2003). Evaluation of rule-based autoverification protocols. Clinical Leadership and Management Review, 17(5), 268-272.

Duca, D. J. (2002). Autoverification in a Laboratory Information System. Laboratory Medicine, 33(1), 21-25.

Nuanin, S., Tientadakul, P., Reesukumal, K., Piyophirapong, S., Kost, G., & Pratumvinit, B. (2020). Autoverification improved process efficiency, reduced staff workload, and enhanced staff satisfaction using a critical path for result validation. Siriraj Medical Journal, 72(4), 296-306.

Randell, E. W., Yenice, S., Khine Wamono, A. A., & Orth, M. (2019). Autoverification of test results in the core clinical laboratory. Clinical Biochemistry, 73, 11-25.

World Health Organization. (2009, April 18). BMI classification. https://web.archive.org/ web/20170611061519/http://apps.who.int/bmi/index.jsp?introPage=intro_3.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย