ปัจจัยทำนายผลการสอบใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ของผู้สอบประจำปี 2563 สาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • สายสุนีย์ คนสนิท คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.26

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, ผลการสอบขึ้นทะเบียนฯ, กายภาพบำบัด, การเรียนการสอน

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมการทำนายผลการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ของผู้เข้าสอบประจำปี 2563 จากมหาวิทยาลัยพะเยา โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นนิสิตกายภาพบำบัดที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 60 คน ปัจจัยทำนายที่นำมาศึกษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร เกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอกบังคับ ผลการสอบรวบยอด พฤติกรรมการเตรียมตัวสอบ ทัศนคติของนิสิตต่อการสอบใบประกอบวิชาชีพ และการช่วยเหลือของอาจารย์) และปัจจัยสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย (การบริหารวิชาการ และการจัดการสภาพแวดล้อม) โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นกับผลการสอบผ่านขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ และใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) เพื่อหาสมการทำนายผลการสอบผ่านขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ

            ผลการศึกษา พบว่า เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรของนิสิตกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ร้อยละ 51.67 อยู่ระหว่าง 3.00 - 3.49 คะแนน และเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอกบังคับของนิสิตกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ร้อยละ 45.00 อยู่ระหว่าง 3.00 - 3.49 คะแนน โดยผลการสอบรวบยอดสอบผ่านครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 40.00 นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การสอบผ่านขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ ในรอบแรกมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะกับปัจจัยส่วนบุคคลบางปัจจัย ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (r = 0.433, p = 0.001) เกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอกบังคับ (r = 0.417, p = 0.001) และผลการสอบรวบยอด (r = 0.285, p = 0.027) ตามลำดับ โดยได้สมการทำนายผลการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ คือ “ร้อยละการสอบผ่าน = -71.715 + 43.384 (เกรดเฉลี่ยสะสม) ± 26.467”

            การศึกษานี้ สรุปได้ว่า เฉพาะเกรดเฉลี่ยสะสมที่ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการสอบผ่านใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ ดังนั้น การสนับสนุนส่งเสริมให้นิสิตได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการหลักสูตร

References

จตุพร สุทธิวงษ์ และ เวทสินี แก้วขันตี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดของผู้สำเร็จ การศึกษาประจำปี พ.ศ. 2556-2558 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล : กรณีศึกษา. วารสารกายภาพบำบัด, 39(3), 85-96.

นันทิยา แสงทรงฤทธิ์ และ ศรินรัตน์ วัฒนธรนันท์. (2562). ปัจจัยทำนายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิตพยาบาล สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ปีการศึกษา 2560. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(2), 235-251.

นิภาพร พวงมาลา, กรกมล สุทธิประภา, ลักษณา มาทอ, เสาวนีย์ นาคมะเริง, และ พลลพัฎฐ์ ยงฤทธิ-ปกรณ์. (2560) ทัศนคติต่อวิชาชีกายภาพบำบัดของนักศึกษากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแทพย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 29(3), 239-251.

พรทิพา ทักษิณ, ศุกร์ใจ เจริญสุข, และ อุบล สุทธิเนียม. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเตรียมความพร้อม และผลการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สําเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 117-129.

ยุวดี วัฒนานนท์, วชิรา วรรณสถิตย์, วิลาวัลย์ ดวงล้อม-จันทร์, ฉวีวรรณ สาระคง, และ วรรณทิน ยิ่ง-พัฒนพันธ์, (2554). ปัจจัยทำนายผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของผู้สอบประจำปี พ.ศ. 2553. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(2), 65-72.

วิภาดา คุณาวิกติกุล, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, รัตนาวดี ชอนตะวัน, และ สุปราณี อัทธเสรี. (2555). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 27(3), 11-28.

ศิริญญา คงอยู่. (2560). ปัจจัยทำนายผลการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาล ทหารบก, 10(2), 228- 237.

สมรรถชัย จำนงค์กิจ. (2557). การวัดในงานกายภาพบำบัด แนวคิดสำคัญและการนำไปใช้. สยามพิมพ์นานา.

สภากายภาพบำบัด. (2562). รายงานขอส่งสรุปผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดย้อนหลัง 3 ปี (ตรวจสอบผลสอบใหม่) [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์].

สภากายภาพบำบัด. (2559, 12 ตุลาคม). หลักเกณฑ์การสอบความรู้ เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ กายภาพบำบัด พ.ศ. 2559. สภากายภาพบำบัด. https://pt.or.th/PTCouncil/aboutus.php

สภากายภาพบำบัด. (2562, 14 สิงหาคม). รายงานผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ กายภาพบำบัดครั้งที่ 2/2562. สภากายภาพบำบัด. https://pt.or.th/PTCouncil/new_detail.php?id=947

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย