ผลลัพธ์ของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยวิธีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • พุทธชาติ เอี่ยมสอาด คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วรัญญา รัศมีบรรพตกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กิตติณัฐ กิจวิกัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นพวรรณ พินิจขจรเดช คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.26

คำสำคัญ:

โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง, ความรู้, ทักษะ, ความวิตกกังวล, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มชนิดวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest - posttest design) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยวิธีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คู่เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดและผู้ดูแล ในระบบคลินิกพิเศษนอกเวลา หอผู้ป่วยพิเศษ (ฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล) โดยประเมิน 1) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัดของผู้ป่วย 2) ทักษะ ได้แก่ ทักษะการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดของผู้ป่วย ทักษะการดูแลสายสวนปัสสาวะและการทำความสะอาดแผลของผู้ดูแล 3) ความวิตกกังวลของผู้ป่วย และ 4) ความพึงพอใจของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ได้แก่ การแจกแจงความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Repeated measures ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

           ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนได้รับโปรแกรมต่ำกว่าหลังได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะของผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยวิธีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทักษะการดูแลสายสวนปัสสาวะและการดูแลแผลของผู้ดูแล มีค่าเฉลี่ยในการวัดครั้งแรกน้อยที่สุดและครั้งที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างการวัดทั้ง 3 ครั้ง ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนเข้ารับโปรแกรมสูงกว่าหลังเข้ารับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังเข้ารับโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean 9.64, SD 0.57) ไม่พบภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้ โปรแกรมนี้จึงมีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ

References

กิตติณัฐ กิจวิกัย. (2556). ตำราการผ่าตัดไตผ่านกล้องและโดยใช้หุ่นยนต์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ไอเดียอินแสตนท์.

คณิต ณ พัทลุง. (2560). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคเบาหวาน หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(4), 685-696.

ดนัย มโนรมณ์, ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์, ปฐมพร ศิรประภาศิริ, อาคม ชัยวีระวัฒนะ และ วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2560). แนวทางการคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). โฆสิตการพิมพ์.

เบญจวรรณ พวงเพชร. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมการ วางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

พรฤดี นราสงค์. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีหุ่นยนต์ โรงพยาบาลศิริราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม, นงลักษณ์ ว่องวิษณุพงศ์ และ สุดจิต ไตร-ประคอง (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์, วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 101-113.

เรณู อาจสาลี. (2550). การพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัด. เอ็น พี เพรส.

วชิร คชการ. (2559). คู่มือความรู้ภาคประชาชนเรื่องต่อมลูกหมากโต. โครงการตำรารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรนุช ฤทธิธรรม. (2554). ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวิทยาลัยเซนต์หลุยส์].

ศรีวภา ธนรักษ์ และ ประภาวดี โทนสุข. (2561). ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการจัดการตนเองของผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(4), 1283-1296.

สมพล เพิ่มวงศ์โกศล. (2556). การผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเล่มที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). บี-ยอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์

สราวุฒิ สีถาน. (2557). ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

สุนันทา จันทร์สม. (2554). การพัฒนาโปรแกรมการให้ข้อมูลการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

สุปาณี เสนาดิสัย และ วรรณภา ประไพพานิช. (2554). การพยาบาลพื้นฐาน: แนวคิดและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). จุดทอง

Ahlering, TE., Skarecky, D., Lee, D., & Clayman, RV. (2003). Successful transfer of open surgical skills to a laparoscopic radical prostatectomy, J Urol, 170(5), 1738-1741.

Frota, R., Turna, B., Barros, R., & Gill, IS. (2008). Comparison of Radical Prostatectomy Techniques: Open, Laparoscopic and Robotic Assisted, International Braz J Urol, 34(3), 259-269.

Menon, M., Shrivastava, A., Tewari, A., Sarle, R., Hemal, A., Peabody, JO., & Vallancien, G. (2002). Laparoscopic and robot assisted radical prostatectomy: establishment of a structured program and preliminary analysis of outcomes, J Urol, 168(3), 945-949.

Phillips, N. (2013). Berry & Kohn's Operating Room Technique. (12thed.). Elsevier.

Ramathibodi comprehensive cancer center (2017). Ramathibodi Cancer Report.

Smeltzer, SC., Bare, B., Hinkle, JL., & Cheever, KH. (2008). Burnner & Suddarth’s Textbook of medical-surgical nursing. (11th ed.). Philladelphai: Linpincott Williams & Wilkins.

Tewari, A., Srivasatava, A., Menon, M., & Members of the VIP Team. (2003). A prospective comparison of radical retropubic and robot assisted prostatectomy: experience one institution, BJU Int, 92(3), 205-210.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย