ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน ในหน่วยงานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ หอมกลิ่น หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.36

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel index), ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

         การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะกลาง โดยเปรียบเทียบค่าคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยจากแบบประเมิน Barthel index ก่อน-หลังการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ และความรู้ของญาติหรือผู้ดูแลก่อน-หลังได้รับการแนะนำวิธีการตามโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 80 ราย อายุระหว่าง 40 – 70 ปี ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพระหว่างพักรักษาในโรงพยาบาลโดยนักกายภาพบำบัด มีการให้ความรู้สำหรับผู้ดูแลผ่านสื่อวิดีทัศน์ การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อกลับไปฟื้นฟูสมรรถภาพยังโรงพยาบาลชุมชน และการติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์

         การวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และความรู้ของญาติหรือผู้ดูแลภายหลังได้รับการฝึกตามโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยสถิติอนุมาน pair simple-t-test

         ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับค่าคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และความรู้ของญาติหรือผู้ดูแลภายหลังได้รับการฝึกตามโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพมีต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05

         ดังนั้นโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย เพื่อที่จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

คณะกรรมการสหสาขาวิชาชีพแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกายอุปกรณ์ นักจิตวิทยา. (2559) .แนวทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Clinical Practice Guidelines of Stroke Rehabilitation),พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ธนาเพลส, 2559.

ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย.(2552).แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับการพยาบาลทั่วไป (Clinical Nurse Practice Guideline for Stroke).2552.

ภัทรา วัฒนพันธ์. (2019).การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. North- Eastern Thai journal of Neuroscience 2019.Vol12 No1; 31-43.

ภัสรี พัฒนสุวรรณา. (2019). ผลลัพธ์ของการฟื้นฟูสภาพระยะกลางสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลระดับชุมชน.Formerly J Thai Rehabil med (2019); 29 (1).

สายใจ นกหนู, จุฑามาศ ทองบุญ, มณีภรย์ บกสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ในการทำกายภาพบำบัดแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.วารสารวิชาการทางการแพทย์เขต11, ปีที่ 31 ฉบับที่ 4; 667-676.

สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์. (2550) แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง .2550.

Ole Morten Ronning and Bjorn GuldVog.(1998). Outcome of Sub acute Stroke Rehabilitation. Originally Published. 1998 Apr. 29 ;779-784.

Sang – E.H , Chang H.K , Ee - J.K , Kyung-L.J , et al.(2017). Effect of caregiver’s Education Program on stroke Rehabilitation. Ann Rehabi Med. 2017 Feb. 28; 41(1) ;16- 24.

Tom P.M.M.V, Jolanda C.M.V. H , Fraus E.S.T, Gertrudis I.J.M. K ,et al.(2020). Factor associated with Successful home discharge after inpatient rehabilitation in frail older stroke patients. Vluggen et al. BMC Geriatries. (2020) ; 20:25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย