การพัฒนาฐานข้อมูลและสารสนเทศของกระบวนงานป้องกันและควบคุม ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.37คำสำคัญ:
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด, พจนานุกรมข้อมูล, แนวทางการวินิจฉัยโรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด, เทคนิคเดลฟายบทคัดย่อ
งานป้องกันและควบคุมภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด ดำเนินการเพื่อให้ทารกแรกเกิดทุกรายได้รับการคัดกรอง และทารกที่มีผลการคัดกรองผิดปกติต้องได้รับการติดตามให้มารับยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถป้องกันทารกให้พ้นจากภาวะปัญญาอ่อนได้ การดำเนินงานที่ผ่านมายังคงมีผู้ป่วยที่ขาดการติดตามการรักษาอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากขาดข้อมูลและขาดการกำกับติดตาม
วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อพัฒนาสารสนเทศในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล กระบวนงานป้องกันและควบคุมภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด 2) เพื่อจัดทำพจนานุกรมข้อมูลของระบบติดตามผลการให้ยาไทรอยด์สำหรับทารกแรกเกิด
วิธีการศึกษา 1) ศึกษากระบวนงานป้องกันและควบคุมภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2) กำหนดสารสนเทศที่ใช้ในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลจากตัวชี้วัด สปสช. และผลการทบทวนวรรณกรรม 3) ระบุสารสนเทศที่สำคัญ ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) 4) จัดทำพจนานุกรมข้อมูล
ผลการวิจัย จากการรวบรวมสารสนเทศมีจำนวน 19 ตัวชี้วัดเมื่อนำไปปรึกษากลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปสารสนเทศที่สำคัญจำนวน 15 ตัวชี้วัด จากนั้นนำมาจัดทำพจนานุกรมข้อมูลจำนวน 64 ตัวแปร โดยเป็นตัวแปรเดิม 37 ตัวแปรและตัวแปรที่เพิ่ม 27 ตัวแปร
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย การพัฒนาสารสนเทศของกระบวนงานป้องกันและควบคุมภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด นอกจากจะได้สารสนเทศในการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานแล้วยังมีการบูรณาการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ข้อมูล 43 แฟ้ม ฐานข้อมูลผู้ป่วยนอกและฐานข้อมูลผู้ป่วยใน
References
เกวลี อุณจักร. (2554). Neonatal Screening for Congenital Hypothyroid. Pediatric Endocrinology: Practical Issues for Pediatricians, หน้า 143-152. ISBN 978-974-350-285-9.
ชมรมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางในการวินิจฉัยโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดโดยชมรมต่อมไร้ท่อเด็กแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://thaipedendo.org/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/
ไทยรัฐ. (2563). สธ.อัปเกรดตรวจความผิดปกติเด็ก-สตรี. ฉบับที่ 22848, วันที่ 11 สิงหาคม 2563, หน้า 12.
วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล. (2563). การคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ปี พ.ศ. 2550-2561). วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม: 5-12.
ศูนย์ปฏิบัติการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2563). ระเบียบกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าด้วยอัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก http://www.neoscreen.go.th/web/images/stories/pdf/dmsc_reg_63_5.pdf
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วน จำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.
Abdelhak, M., Grostick, S., and Hanken, A.M. (2014). Health Information: Management of a Strategic Resource (5th Edition). Elsevier Health Sciences. ISBN 0323295053, 9780323295055.
Butlion, J. (2019). What is a Data Dictionary? Retrieved March 10, 2021, from https://www.projectbi. net/what-data-dictionary-downloadable-example-template/#0-what-is-a-data-dictionary-and-why-does-my-business-need-one
Charoensiriwatana, W., Srijantr, P., Janejai, N., and Hasan, S. (2008). Application of Geographic Information System in TSH Neonatal Screening for Monitoring of Iodine Deficiency Areas in Thailand. The Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, Vol. 39, No. 2, pp. 362-367.
Genetic and Rare Diseases Information Center. (2016). Congenital hypothyroidism. Retrieved January 12, 2021, from https://rarediseases.info.nih.gov/diseases/1487/congenital-hypothyroidism
Reference. (2020). What is the Meaning of “Database System”? Retrieved March 10, 2021, from https:// www.reference.com/world-view/meaning-database-system-b6d11196cfd749b8
Sánchez, A.R., Chueca Guindulain, M.J., Merillas, M.A., and et al. (2019). Diagnosis and Follow-up of Patients with Congenital Hypothyroidism Detected by Neonatal Screening. Spanish Association of Paediatrics. An Pediatr (Barc). 90(4): 250.e1-250.e8.
Techopedia. (2021). Database (DB). Retrieved March 10, 2021, from https://www.techopedia.com/ definition/1185/database-db
Weiner, A., Oberfield, S., and Vuguin, P. (2020). The Laboratory Features of Congenital Hypothyroidism and Approach to Therapy. Neoreviews. January; 21(1): e37-e44. doi: 10.1542/neo.21-1-e37.