ผลของการใช้สูตรอย่างง่ายเพื่อคำนวณปริมาณการให้ยานอนหลับ Chloral hydrate ชนิดน้ำเชื่อมก่อนตรวจ Echocardiography ในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผู้แต่ง

  • อุเทน บุญมี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มัทนา ทิสาพงศ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.23

คำสำคัญ:

คำนวณปริมาณ, ยานอนหลับ, Chloral hydrate, ผู้ป่วยเด็ก

บทคัดย่อ

            ผู้ป่วยวัย 6 เดือน - 4 ปี เป็นวัยที่หวาดกลัวและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจหรือให้ความร่วมมือได้ไม่นานพอที่จะทำการตรวจได้แล้วเสร็จ ดังนั้นก่อนตรวจ Echocardiography จึงจำเป็นต้องให้ยานอนหลับเพื่อให้การตรวจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและผลตรวจที่ได้มีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันแผนกตรวจ Pediatric Echocardiography โรงพยาบาลรามาธิบดีใช้ยานอนหลับ Chloral hydrate ชนิดน้ำเชื่อมความเข้มข้น 100 mg./ml. บริหารยาด้วยการรับประทาน คำนวณปริมาณยาด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ คือ 50 mg/kg/dose หรืออยู่ในรูปสูตรอย่างง่ายคือ Volume(ml.) = BW(kg)/2

            การศึกษาผลของการให้ยาลักษณะนี้ยังมีไม่หลากหลาย ทำให้เกิดแนวคิดในการศึกษาผลของการให้ยาจากสูตรอย่างง่ายนี้ขึ้นภายใต้การวิจัยแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการตรวจ Echocardiography โดยแพทย์และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ตั้งแต่มกราคม 2557 - มกราคม 2563 ที่มีบันทึกการให้ยาในระบบเวชระเบียนทั้งสิ้น 51 ราย อายุ 12.2 + 6.3 เดือน น้ำหนัก  9.17 + 1.69 กิโลกรัม เพศหญิงร้อยละ 58 เพศชายร้อยละ 42 พบว่าปริมาณยาที่ได้จากการคำนวณยาด้วยสูตรอย่างง่ายนี้สามารถทำให้ผู้ป่วยหลับได้ภายใน Dose เดียวมากที่สุดถึงร้อยละ 74 มีระยะปรากฏฤทธิ์จนกระทั่งหลับสนิท 50.3 + 28.3 นาที หลับภายใน 2 Dose ร้อยละ 22 และที่ต้องได้รับยามากกว่า 2 Dose เพียงร้อยละ 4  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างอายุกับระยะปรากฏฤทธิ์ rs = 0.39, Sig <0.05 อาการไม่พึงประสงค์จากกการใช้ยา ได้แก่ พบภาวะเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจร้อยละ 3.9 ภาวะออกผื่นตามลำตัว ร้อยละ 1.9 แต่ไม่พบการให้ยาเกินขนาด คือ 1,000 mg/dose

            สรุปได้ว่าสูตรอย่างง่ายที่โรงพยาบาลรามาธิบดีใช้ในเด็กมีประสิทธิผลสามารถทำให้เด็กหลับได้ตั้งแต่ Dose แรกมากที่สุด และอายุกับระยะปรากฏฤทธิ์มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านอาการไม่พึงประสงค์ของยาพบน้อยมากแม้จะมีอุบัติการณ์การให้ยาซ้ำบ้างก็ตาม 

References

Bailey, M. A., Saraswatula, A., Dale, G., & Softley, L. (2016). Paediatric sedation for imaging is safe and effective in a district general hospital. The British journal of radiology, 89(1061), 20150483. https://doi.org/10.1259/bjr.2015 0483

Beland, F. A. (1999). NTP technical report on the toxicity and metabolism studies of chloral hydrate (CAS No. 302-17-0). Administered by gavage to F344/N rats and B6C3F1 mice. Toxicity report series (59), 1.

Chan, A. M., Tan, G. K., Loh, H. P., Lim, S. H., & Chia, A. W. (2017). Safety and efficacy of chloral hydrate sedation in paediatric sedation for ophthalmic procedures. Ann Acad Med Singapore, 46(4), 138-144.

Fong, C. Y., Tay, C. G., Ong, L. C., & Lai, N. M. (2017). Chloral hydrate as a sedating agent for neurodiagnostic procedures in children. Cochrane database of systematic reviews(11). https://doi.org/10.1002/1465 1858.CD011786.pub3

Ganigara, M., Srivastava, S., Malik, P., Fong, S., Ko, H., Parness, I., & Shenoy, R. (2019). Comparison of chloral hydrate and pentobarbital sedation for pediatric echocardiography. Echocardiography, 36(4), 766-769.

Hirshkowitz, M., & Bhandari, H. (2017). Neurotransmitters, neurochemistry, and the clinical pharmacology of sleep. In Sleep disorders medicine (pp. 103-118): Springer.

Shakeer, S. K., Kalapati, B., Al Abri, S. A., & Al Busaidi, M. (2019). Chloral hydrate overdose survived after cardiac arrest with excellent response to intravenous β-blocker. Oman medical journal, 34(3), 244. https:// doi: 10.5001/omj.2019.46

Spitalnic, S., Blazes, C., & Anderson, A. C. (2000). Conscious sedation: A primer for outpatient procedures. Hospital Physician, 36(5), 22-32. http://aamsn.org/wp/content/uploads/2009/11/Sedation-Booklet.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย