ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2020.25คำสำคัญ:
ความพึงพอใจด้านคุณภาพ, งานมหกรรมคุณภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันต-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เข้าร่วมกิจกรรมงานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนทั้งหมด 335 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 93.13 การศึกษานี้ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (ค่าเฉลี่ย 4.26) ด้านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย 4.19) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย 4.17) ด้านรูปแบบการจัดแสดงผลงาน (ค่าเฉลี่ย 4.16) และด้านกระบวนการและขั้นตอน (ค่าเฉลี่ย 4.13) ตามลำดับ ดังนั้นความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานที่มีต่องานมหกรรมคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในระดับมากทุกด้าน
References
เนตรดาว ใจจันทร์, วารีรัตน์ แก้วอุไร, และสายฝน วิบูลรังสรรค์. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการพิพาทเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองในประชาคมอาเซียนสาหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 194 - 207.
วิจารณ์ พานิช. (2549). KM วันละคำจากนักปฏิบัติ KM สู่นักปฏิบัติ KM. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การมหาชน (2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปีที่ 2558 – 2561. กรุงเทพมหานคร.
สุวิทย์ เปานาเรียง. (2551). ความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อนิทรรศการไซเบอร์สเตชั่นของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
อิสริยา ปิ่นตบแต่ง. (2554). ปัจจัยจูงใจในการแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).
Cronbach, L.J. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.