การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรงพยาบาลสมุทรปราการ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.1คำสำคัญ:
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติกา รพยาบาลทางคลินิก ; ผู้ป่วยวิกฤติ; ป้องกันการเกิดแผลกดทับบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับอย่างมีประสิทธิภาพและศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติตัวอย่างวิจัยคือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุกรรม โรงพยาบาลสมุทรปราการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมที่ยัง ไม่เกิดแผลกดทับ 2) ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมที่มี Barden score <18คะแนน 3) ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมภายใน4ชั่วโมงแรก 4) แรกรับผู้ป่วยมีอุณหภูมิของร่างกายมากกว่าหรือเท่ากับ 36.0 องศาเซลเซียสและน้อยกว่าหรือเท่ากับ 38.0 องศาเซลเซียส 5)ได้รับการยินยอมเข้าร่วมการวิจัยจากผู้ป่วยหรือญาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1.แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย 2.แบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับบราเดน (Braden scale) 3.แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ (Bundle of Prevention Pressure Ulcer: ASSI-ET) 4.แบบประเมินภาวะโภชนาการ Nutrition Alert Form (NAF) 5.แบบบันทึกการเกิดแผลกดทับ 6.แบบประเมินความพึงพอใจและความคิดเห็นของพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติที ค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ Reliability analysis ผลการวิจัยพบว่า 1.แนวปฏิบัติมีความตรงเชิงเนื้อหาการหาค่าดัชนีความตรงเนื้อหา เท่ากับ 0.715 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ทางคลินิกจนเกิดผลลัพธ์ที่ดี 2.อัตราการเกิดแผลกดทับก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.013และ 3.อัตราความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ด้วยสถิติ Reliability analysis มีค่า Cornbrash’s Alpha มีค่าเท่ากับ 0.636
References
Frances Lin, Zijing Wu, Bing Song, Fiona Coyer, & Wendy Chaboyer. (2019). The effectiveness of Multicomponent pressure injury prevention programs in adult intensive care patients. A Systematic review. International Journal of Nursing Studies, 102, 1-14.
ประภาพร ดองโพธิ์. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ.Thammasat Medical Journal, 19(2), 315-323.สืบค้นจาก http://www.hospital.tu.ac.th/km/admin/new/240418 085056.pdf
นลินทิพย์ ตำนานทอง และ วีระชัย โควสุวรรณ. (2540). ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับ. ศรีนครินทร์เวชสาร,12:74 -82
Mary Ellen Dziedzic. (2019). Preventing Pressure Injuries in an Acute Care Setting Plastic and Reconstructive Surgery, 3(138),232-240.doi : 10.1097/PRS.0000000000002644
Anna E. Krupp, & Jill Monfre. (2015). Pressure Ulcers in the ICU Patient: an Update on Prevention And Treatment. Curr Infect Dis Rep, 17 (11), 1-6. doi : 10.1007/s11908-015-0468-7
Jennifer L. Guzman, Rachel McClanahan, & Stephanie Vaughn. (2019). Development of guidelines for pressure ulcer prevention. Wounds Middle East 2019, 6 (1), 12-16. Retrieved from https://www.woundsinternational.com/download/resource/7661
National Institute for Health and Care Excellence (NICE). (2015). Pressure ulcers . National Institute for Health and Care Excellence (NICE), 5-50.Retrieved from https://www.nice.org.uk/guidance/qs89/resources/pressure-ulcers-pdf-2098916972485
Jenny Alderden, June Rondinelli, Ginette Pepper, Mollie Cummins, & JoAnne Whitney. (2017). Risk factors for pressure injuries among critical care patients: A systematic review. International Journal of Nursing Studie, 71, 97-114. DOI: 10.1016/j.ijnurstu.2017.03.012
Kanjanawasee S. (2016). Research and development for Thai education. Silpakorn Education Research Journal,8(2):1-18.(in Thai) Clinic of North America, 35:301-91
Soukup,M. (2000). The center of advanced nursing practist evidence-based practice model Nursing Clinic of North America, 35:301-91
กาญจนา รุ่งแสงจันทร์, วรรณิภา สายหล่า, และ จุฬาพร ประสังสิต.(2558). เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยด้วย SSIET Bundle. เอกสารเอกสารประกอบการประชุมประจำปี พ.ศ.2558 เรื่อง การก้าวสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง;1-6.สืบ ค้นจาก https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/index.php/download
สุรัตน์ โคมินทร์. (2559) Nutrition Alert Form (NAF). โรงพยาบาลศิริราช
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553) เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
ศิริพร วังแวว. (2554) ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่มีแผลไฟไหม้หอผู้ป่วยศัลยกรรมไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลลำปาง. [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สืบค้นจาก http://202.129.46.118/ULIB6NEW/searching.php?MAUTHOR